การศึกษาประสิทธิภาพของคอนกรีตที่ผสมขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว

ผู้แต่ง

  • จรัล รัตนโชตินันท์ สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

คอนกรีตผสมขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้ว, ต้นทุนของคอนกรีต, ขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาประสิทธิภาพของคอนกรีตที่ผสมขวดน้ำพลาสติกใช้แล้วทดแทนมวลรวมหยาบทั้งหมดเพื่องานก่อสร้าง โดยอัตราส่วนของปริมาณพลาสติกที่ใช้ในการผสมคอนกรีตตัวอย่างมีค่าร้อยละ 5, 10, 15 และ17 โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์  จากการทดสอบพบว่า ปริมาณพลาสติกที่ผสมในคอนกรีตเพื่อทดแทนมวลรวมหยาบมีผลต่อความสามารถรับกำลังอัดของคอนกรีตที่ลดลง ค่าอัตราส่วนของพลาสติกผสมในคอนกรีตที่ให้กำลังอัดมากที่สุด คือ 5% โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์โดยค่ากำลังอัดสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 225 กิโลกรัมต่อตร.ซม ที่อายุการบ่ม 28 วัน และค่าอัตราส่วนของพลาสติกผสมในคอนกรีตที่ให้กำลังอัดน้อยที่สุด คือ 17% โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ โดยค่ากำลังอัดสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 117 กิโลกรัมต่อตร.ซม ที่อายุการบ่ม 28 วัน ความสามารถการผสมและขึ้นรูปของคอนกรีตขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของพลาสติกที่ผสมในคอนกรีตไม่ควรเกิน 15 % โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ การเลือกใช้งานคอนกรีตผสมพลาสติกสามารถพิจารณาค่าการรับกำลังอัดที่ทดสอบได้ให้เหมาะสมกับการรับกำลังอัดของประเภทงานก่อสร้างที่ไม่ต้องการการรับกำลังอัดสูงมาก ต้นทุนของคอนกรีตผสมขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วจะมีมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นตามระดับความสามารถการรับกำลังอัดที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีตแบบปกติ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากการลดขั้นตอนการกำจัดขยะขวดน้ำพลาสติก

References

ChuSilp, N., Boonrasi., P., Kwanyeen., S., Krirat., T., & Saereal., P., (2013). Mechanical properties of concrete mixed with reused Ceramic Tiles reinforced with steel fiber from milling processed. RMUTP Research Journal Special Issue The 5th Rajamangala University of Technology National Conference (pp. 664-674). Bangkok: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. https://repository.rmutp.ac.th/bitstream/handle/123456789/1512/IRD_58_29.pdf?sequence=1. (in Thai)

Deepunya., W., & Suveero., K., (2015). Para-rubber floor tiles mixed with Plastic wastes from the factories. Budget research subsidies annual revenue budget 2015 (Research report). Bangkok: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. http://repository.rmutp.ac.th/handle/123456789/2083. (in Thai)

Mohammed, A. A. (2017). Flexural behavior and analysis of reinforced concrete beams made of recycled PET waste concrete. Construction and Building Materials, 155, 593–604. https://doi.org/10.1016/j.conbuildmat.2017.08.096

Nitisuwanraksa., N. (2016). Effects of polypropylene plastic ratio in autoclaved aerated concrete on compressive strength and thermal conductivity. Kasem Bundit Engineering Journal, 6(1), 174-181. (in Thai)

Peri, G., Traverso, M., Finkbeiner, M., & Rizzo, G. (2012). The cost of green roofs disposal in a life cycle perspective: Covering the gap. Energy, 48(1), 406-414. doi: 10.1016/j.energy.2012.02.045

Sangrajrang., S., Ploysawang., P., & Promhithatron., P. (2013). Impact of plastics on human health and environment. Thai Journal Toxicology. 28(1), 39-50. (in Thai)

Suriyawichitseranee., A, Seangatith., S, & Apichatvullop., A. (2000) Inverstigation of the use of recycled short plastic wires in concrete. Proceedings of the 11th National Convention on Civil Engineering. Phuket: Civil Engineering. (in Thai)

Tantiyaswasdikul., K. (2010). Transformation of waste plastic bottles into covered parking. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 7(2), 159-172. (in Thai)

Thayavinichchakul., S., & Thayavinichchakul., A., (2016). The brick pavement production using waste plastic as ingredients together. Budget research subsidies annual Revenue Budget 2015 (Research report). Bangkok: Chandrakasem Rajabhat University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-10

ฉบับ

บท

บทความวิจัย