การ การพัฒนาระบบประสานงานสำหรับการวางแผนการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศ, การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์, การวางแผนการท่องเที่ยว, การประสานงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจปัญหาและความต้องการที่เกิดขึ้นในการประสานงานขอข้อมูลจากทางโรงพยาบาลเพื่อการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่ประเทศไทย (2) พัฒนาระบบสารสนเทศให้สามารถสนับสนุนการประสานงานสำหรับการวางแผนการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และ (3) ประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของระบบประสานงานสำหรับการวางแผนการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ประสานงานฝ่ายต่างประเทศของโรงพยาบาลพระราม 9 ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาประสานงานของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ผ่านหลายช่องทางการติดต่อของโรงพยาบาลมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และต้องการให้ระบบกลางที่สามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานระหว่างนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์กับโรงพยาบาลเพื่อลดความซ้ำซ้อนดังกล่าวอยู่ในระดับมาก โดยระบบที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 14 โมดูล (1) login/logout (2) register (3) view details (4) choose medical service (5) request proposal (6) suggest proposal (7) manage proposal (8) view profile (9) request more information (10) input information (11) obtain helps (12) manage details (13) notify activities (14) print report ซึ่งสอดคล้องกับขั้นตอนในการประสานงานขอข้อมูลก่อนนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์จะเดินทางมารับบริการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ผลการประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของระบบที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก
References
References
Boonshom, S. (2002). Preliminary research. Bangkok: Sureewiyasart. (in Thai)
Eman, M. H. (2011). Benchmarking the Egyptian medical tourism sector against international best practices: An exploratory study. Journal of Tourism, 6(2), 293-297.
Gan, L., & Frederuck, J.R. (2011). Medical tourism facilitators: Patterns of service differentiation. Journal of Vacation marketing. 17(3), 1-19.
Herberholz, C., & Supakankunti, S. (2013). Medical tourism in Malaysia, Singapore and Thailand. Retrieved from https://dokterinternasionalindonesia.net/wp-content/uploads/2014/07/Medical-Tourism-in Malaysia-Singapore-and-Thailand.pdf.
Heung, V.C.S., Kucukusta, D., & Song, H. (2010). A conceptual model of medical tourism: implication for future research. Journal of Travel and Tourism Marketing, 27(3), 236-251.
Kadri, S., & Agni, D. (2011) A survey on tourist trip planning systems, Journal of Arts & Sciences, 4(9), 13-26.
Kityanyong, S. (2003). Service team development. Bangkok: Info Media Book. (in Thai)
National Statistical Office. (2017). The National statistical office reveals the results of the survey of private hospitals and nursing homes. Retrieved from https://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N24-10-61.aspx (in Thai)
Office of Small and Medium Enterprises Promotion. (2010). Guide for medical tourism services for travel agent operators. Bangkok: Author. (in Thai)
Satchukorn, S. (2007). The collaboration’s skill. Retrieved from https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=394&read=true&count, (in Thai)
World Tourism Organization (2017). UNWTO tourism highlights 2017. Retrieved from https://people.unica.it/carlamassidda/files/2017/06/UNWTO_Tourism-Highlights_2017.pdf