ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคฟันผุ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรคฟันผุ และพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • วัชลาวลี เกตุดี หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วุฒิชัย จริยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

โปรแกรม, การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคฟันผุ, ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรคฟันผุ, พฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคฟันผุ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรคฟันผุและพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก ขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณจำนวน 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 34 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 34 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยทำการคัดเลือกโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 2 โรงเรียน กำหนดโรงเรียนกลุ่มทดลองและโรงเรียนกลุ่มเปรียบเทียบโดยวิธีการจับฉลาก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างนักเรียนของแต่ละโรงเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมดังกล่าวเป็นระยะเวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์ โดยโปรแกรมดังกล่าวประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองของ Bandura มีแนวคิดที่สำคัญ คือ การรับรู้ความสามารถตนเองและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ได้ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาซ ส่วนการรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคฟันผุ ส่วนความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรคฟันผุ และส่วนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ เท่ากับ .78, .78 และ .77 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ Independent t-test, ANCOVA และ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคฟันผุ ค่าคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรคฟันผุ และค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคฟันผุ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรคฟันผุและพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p-value <.05)

                               

References

Bandura, A., & Adam, N. E. (1977). Analysis of self-efficacy theory of behavioral chang. Cognitive Therapy and Research, 1(4), 287-310. http://www.uky.edu/~eushe2/BanduraPubs/Bandura1977CTR-Adams.pdf

Bangrakam Hospital. (2018). Oral health status survey report of Bangrakam District, Phitsanulok Province year 2018. Phitsanulok: Bangrakam Hospital. (in Thai)

Bureau of Dental Public Health, Department of health. (2013). Report of the 7th National Oral Health survey in Thailand 2012. Bangkok: War Veterans Organization. (in Thai)

Bureau of Dental Public Health, Department of health. (2018). National Oral Health survey report No.8, Thailand 2018. Bangkok: War Veterans Organization. (in Thai)

Chirawatkul, A. (2009). Health science statistics for research. Bangkok: Witthayaphat. (in Thai)

Kitthirawutwong, N. (2017). Public health research: From principles to practice. Phitsanulok: Naresuan University. (in Thai)

Kulphimai, P. (2014). The dental health promotion program using person prototype model on behavior modification in dental caries prevention for student in primary school Phratongkham District, Nakornratchasima Province (Master’s thesis). Mahasarakham University. Maha Sarakham. (in Thai)

Petersen, P. E., & Ogawa, H. (2016). Prevention of dental caries through the use of fluoride-the WHO approach Community Dental Health (2016). Switzerland: BASCD

Phitsanulok Provincial Health Office. (2018). Oral health status survey report of Phitsanulok Province year 2018. Phitsanulok: Phitsanulokprovincial health office. (in Thai)

Suwakhon, N., & Wongsawat, P. (2018). Factor Influencing tooth cleaning behaviors for dental caries prevention of grade 6 students in Muang District, Phitsanulok Province. EAU Heritage journal science and technology, 12(2), 273-286. (in Thai)

To-on, P. (2010). The effectiveness of health education program by application of the planned behavior theory and social support on behavioral development for dental caries prevention among students grade 3-4 in Ban Nongwaeng Munipal School, Khon Kaen Municipal Khon Kaen Province (Master’s thesis). Khon Kaen university. Khon Kaen. (in Thai)

Watyota, K. (2018). Effectiveness of an oral health promotion program on oral health behavior among 12 year-old studentsin Kosamphi Nakhon District, Kamphaeng Province (Master’s thesis). Naresuan University. Phitsanulok. (in Thai)

Wiangkham, N. (2012). The application of self-efficacy Theory and social support for dental caries protection of student at primary school in Buanoi Sub-district Kanthararom District, Sisaket Province (Master’s thesis). Mahasarakham University. Maha Sarakham. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย