การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของยาเม็ดอะเซตามิโนเฟนที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อารีรัตน์ ซื่อดี ซื่อดี School of pharmacy, Eastern Asia University, 200 Rangsit-Nakhon Nayok Road, Thanyaburi, Pathum Thani, 12110
  • นวลศรี นิวัติศัยวงศ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย เลขที่ 200 ถนนรังสิต-นครนายก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110
  • ฐิติยา แซ่ลิ้ม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ถนนรังสิต-นครนายก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110
  • ศักดิ์สิทธิ์ ไชยวุฒิ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ถนนรังสิต-นครนายก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110

คำสำคัญ:

ยาเม็ดอะเซตามิโนเฟน การควบคุมคุณภาพ ความสม่ำเสมอของน้ำหนักเม็ดยา ความกร่อนของเม็ดยา แรงที่ทำให้เม็ดยาแตก การทดสอบการละลายของเม็ดยา การวิเคราะห์หาปริมาณตัวยาสำคัญในเม็ดยา และการทดสอบความสม่ำเสมอของปริมาณตัวยาสำคัญในยาแต่ละเม็ด

บทคัดย่อ

อะเซตามิโนเฟนหรือพาราเซตามอลเป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยมีวางจำหน่ายในประเทศไทยในชื่อทางการค้าที่หลากหลาย ซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้าถึงยาได้ง่าย  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของยาเม็ดอะเซตามิโนเฟน ขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ดของ 3 บริษัทที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทยด้วยราคาจำหน่ายที่แตกต่างกัน โดยเลือกซื้อตัวอย่างยาเม็ดอะเซตามิโนเฟนจากร้านขายยาทั่วไป การประเมินคุณภาพของยาเม็ดอะเซตามิโนเฟนได้ใช้เกณฑ์และวิธีตาม USP 40,  BP 2017 ร่วมกับคำแนะนำของ CDER หัวข้อที่ใช้ในการทดสอบและเปรียบเทียบคุณภาพของเม็ดยา ได้แก่ ความสม่ำเสมอของน้ำหนักเม็ดยา ความกร่อนของเม็ดยา แรงที่ทำให้เม็ดยาแตก การทดสอบการละลายของเม็ดยา การวิเคราะห์หาปริมาณตัวยาสำคัญในเม็ดยา และการทดสอบความสม่ำเสมอของปริมาณตัวยาสำคัญในยาแต่ละเม็ด จากการทดสอบ พบว่ายาเม็ดอะเซตามิโนเฟนของทั้ง 3 บริษัทมีความสอดคล้องกันตามเกณฑ์มาตรฐานที่ USP 40 และ BP 2017 กำหนด ยกเว้นแรงที่ทำให้เม็ดยาแตก ซึ่งไม่มีเกณฑ์การยอมรับระบุอยู่ในตำรับยาใด ๆ และจากคำแนะนำของ CDER พบว่ากราฟแสดงการละลายของเม็ดยาของ 2 บริษัทเท่าเทียมกัน แต่ต่างจากอีกบริษัทหนึ่ง อย่างไรก็ตาม คุณภาพโดยรวมของยาเม็ดอะเซตามิโนเฟนของทั้ง 3 บริษัทเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของ USP 40 และ BP 2017

Author Biographies

นวลศรี นิวัติศัยวงศ์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย เลขที่ 200 ถนนรังสิต-นครนายก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110

อะเซตามิโนเฟนหรือพาราเซตามอลเป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยมีวางจำหน่ายในประเทศไทยในชื่อทางการค้าที่หลากหลาย ซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้าถึงยาได้ง่าย  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของยาเม็ดอะเซตามิโนเฟน ขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ดของ 3 บริษัทที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทยด้วยราคาจำหน่ายที่แตกต่างกัน โดยเลือกซื้อตัวอย่างยาเม็ดอะเซตามิโนเฟนจากร้านขายยาทั่วไป การประเมินคุณภาพของยาเม็ดอะเซตามิโนเฟนได้ใช้เกณฑ์และวิธีตาม USP 40,  BP 2017 ร่วมกับคำแนะนำของ CDER หัวข้อที่ใช้ในการทดสอบและเปรียบเทียบคุณภาพของเม็ดยา ได้แก่ ความสม่ำเสมอของน้ำหนักเม็ดยา ความกร่อนของเม็ดยา แรงที่ทำให้เม็ดยาแตก การทดสอบการละลายของเม็ดยา การวิเคราะห์หาปริมาณตัวยาสำคัญในเม็ดยา และการทดสอบความสม่ำเสมอของปริมาณตัวยาสำคัญในยาแต่ละเม็ด จากการทดสอบ พบว่ายาเม็ดอะเซตามิโนเฟนของทั้ง 3 บริษัทมีความสอดคล้องกันตามเกณฑ์มาตรฐานที่ USP 40 และ BP 2017 กำหนด ยกเว้นแรงที่ทำให้เม็ดยาแตก ซึ่งไม่มีเกณฑ์การยอมรับระบุอยู่ในตำรับยาใด ๆ และจากคำแนะนำของ CDER พบว่ากราฟแสดงการละลายของเม็ดยาของ 2 บริษัทเท่าเทียมกัน แต่ต่างจากอีกบริษัทหนึ่ง อย่างไรก็ตาม คุณภาพโดยรวมของยาเม็ดอะเซตามิโนเฟนของทั้ง 3 บริษัทเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของ USP 40 และ BP 2017

ฐิติยา แซ่ลิ้ม, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ถนนรังสิต-นครนายก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110

อะเซตามิโนเฟนหรือพาราเซตามอลเป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยมีวางจำหน่ายในประเทศไทยในชื่อทางการค้าที่หลากหลาย ซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้าถึงยาได้ง่าย  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของยาเม็ดอะเซตามิโนเฟน ขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ดของ 3 บริษัทที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทยด้วยราคาจำหน่ายที่แตกต่างกัน โดยเลือกซื้อตัวอย่างยาเม็ดอะเซตามิโนเฟนจากร้านขายยาทั่วไป การประเมินคุณภาพของยาเม็ดอะเซตามิโนเฟนได้ใช้เกณฑ์และวิธีตาม USP 40,  BP 2017 ร่วมกับคำแนะนำของ CDER หัวข้อที่ใช้ในการทดสอบและเปรียบเทียบคุณภาพของเม็ดยา ได้แก่ ความสม่ำเสมอของน้ำหนักเม็ดยา ความกร่อนของเม็ดยา แรงที่ทำให้เม็ดยาแตก การทดสอบการละลายของเม็ดยา การวิเคราะห์หาปริมาณตัวยาสำคัญในเม็ดยา และการทดสอบความสม่ำเสมอของปริมาณตัวยาสำคัญในยาแต่ละเม็ด จากการทดสอบ พบว่ายาเม็ดอะเซตามิโนเฟนของทั้ง 3 บริษัทมีความสอดคล้องกันตามเกณฑ์มาตรฐานที่ USP 40 และ BP 2017 กำหนด ยกเว้นแรงที่ทำให้เม็ดยาแตก ซึ่งไม่มีเกณฑ์การยอมรับระบุอยู่ในตำรับยาใด ๆ และจากคำแนะนำของ CDER พบว่ากราฟแสดงการละลายของเม็ดยาของ 2 บริษัทเท่าเทียมกัน แต่ต่างจากอีกบริษัทหนึ่ง อย่างไรก็ตาม คุณภาพโดยรวมของยาเม็ดอะเซตามิโนเฟนของทั้ง 3 บริษัทเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของ USP 40 และ BP 2017

ศักดิ์สิทธิ์ ไชยวุฒิ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ถนนรังสิต-นครนายก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110

อะเซตามิโนเฟนหรือพาราเซตามอลเป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยมีวางจำหน่ายในประเทศไทยในชื่อทางการค้าที่หลากหลาย ซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้าถึงยาได้ง่าย  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของยาเม็ดอะเซตามิโนเฟน ขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ดของ 3 บริษัทที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทยด้วยราคาจำหน่ายที่แตกต่างกัน โดยเลือกซื้อตัวอย่างยาเม็ดอะเซตามิโนเฟนจากร้านขายยาทั่วไป การประเมินคุณภาพของยาเม็ดอะเซตามิโนเฟนได้ใช้เกณฑ์และวิธีตาม USP 40,  BP 2017 ร่วมกับคำแนะนำของ CDER หัวข้อที่ใช้ในการทดสอบและเปรียบเทียบคุณภาพของเม็ดยา ได้แก่ ความสม่ำเสมอของน้ำหนักเม็ดยา ความกร่อนของเม็ดยา แรงที่ทำให้เม็ดยาแตก การทดสอบการละลายของเม็ดยา การวิเคราะห์หาปริมาณตัวยาสำคัญในเม็ดยา และการทดสอบความสม่ำเสมอของปริมาณตัวยาสำคัญในยาแต่ละเม็ด จากการทดสอบ พบว่ายาเม็ดอะเซตามิโนเฟนของทั้ง 3 บริษัทมีความสอดคล้องกันตามเกณฑ์มาตรฐานที่ USP 40 และ BP 2017 กำหนด ยกเว้นแรงที่ทำให้เม็ดยาแตก ซึ่งไม่มีเกณฑ์การยอมรับระบุอยู่ในตำรับยาใด ๆ และจากคำแนะนำของ CDER พบว่ากราฟแสดงการละลายของเม็ดยาของ 2 บริษัทเท่าเทียมกัน แต่ต่างจากอีกบริษัทหนึ่ง อย่างไรก็ตาม คุณภาพโดยรวมของยาเม็ดอะเซตามิโนเฟนของทั้ง 3 บริษัทเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของ USP 40 และ BP 2017

References

References

American Chemical Society. (2014). Re: Molecule of the week archive “Acetaminophen”. Retrieved September 15, 2014, from https://www.acs.org/content/acs/en/molecule-of-theweek/archive/a/acetaminophen. html.

ASEAN Common Technical Requirements (ACTR). (2016). ASEAN Secretariat, Jakarta: Indonesia. British Pharmacopoeia 2017. (2016). London: The Stationary Office.

Moore, J. W., & Flanner, H. H. (1996). Mathematical comparison of curves with an emphasis on in vitro dissolution profiles. Pharmaceutical Technology. 20(6), 64-74.

Shah, V. P., Tsong, Y., & Sathe, P. (1988). In vitro dissolution profile comparison-statistics and analysis of the similarity factor, f2. Pharmaceutical Research. 15, 889-896.

Stippler, E. (2019). Re: Compendial dissolution: Theory and practice. Retrieved June 5, 2019, from https://www.academia.edu/7603260/Compendial_Dissolution_Theory_and_Practice.

The United States Pharmacopeia. (2016). The United States Pharmacopeia 40: National Formulary 35. (2016). Baltimore, USA.: United Book Press.

U.S. Department of Health and Human Services Food and Drug Administration. (1997). Guidance for industry: Dissolution testing of immediate release solid oral dosage forms, Center for Drug Evaluation Research, Rockville. MD, USA: Center for Drug Evaluation Research (CDER).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย