การวิเคราะห์เปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์สำหรับการวางแผนการผลิต กรณีศึกษา บริษัทผลิตเนื้อโคขุน จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • รัชฎา แต่งภูเขียว คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ณัฐนันท์ อิสสระพงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การพยากรณ์, เนื้อโคขุน, การวิเคราะห์อนุกรมเวลา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและเลือกวิธีการพยากรณ์อนุกรมเวลาที่ดีที่สุดในการพยากรณ์สำหรับการวางแผนการผลิตของบริษัทผลิตเนื้อโคขุนในจังหวัดนครพนม โดยทำการเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ จำนวน 5 วิธี คือ (1) วิธีเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ (2) วิธีปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลอย่างง่าย (3) วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียลแบบโฮลท์ (4) วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียลแบบวินเทอร์รูปแบบการคูณ (5) วิธีการแนวโน้มเชิงเส้น โดยใช้ข้อมูลปริมาณการผลิตของบริษัทกรณีศึกษาในช่วงปี 2558 – 2559 เป็นตัวแบบพยากรณ์ (training data)  จากนั้นจึงเปรียบเทียบค่าพยากรณ์ที่ได้จากตัวแบบกับค่าจริงของปี พ.ศ. 2560 ทั้งนี้พิจารณาวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมจาก ค่าความผิดพลาดสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAD) ค่าเฉลี่ยความผิดพลาดกำลังสอง (Mean Square Error--MSE) และค่าเฉลี่ยร้อยละของความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) ที่ต่ำที่สุด ผลการวิจัยพบว่าวิธีการแนวโน้มเชิงเส้น เหมาะสำหรับการพยากรณ์สำหรับวางแผนการผลิตโคขุน จ.นครพนม ซึ่งให้ค่า MSD = 166.849 MAD = 10.773 และ MAPE = 6.76 ซึ่งมีค่าต่ำสุดเมื่อเทียบกับวิธีการพยากรณ์อื่นๆ  เมื่อนำวิธีการแนวโน้มเชิงเส้น ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ความถูกต้องและเหมาะสมที่สุดสำหรับการวางแผนพยากรณ์การผลิตโคขุน จ.นครพนม  มาทำการพยากรณ์ปริมาณความต้องการในปี 2560  พบว่าความต้องการในการผลิตเนื้อโคขุนจะมีลักษณะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากมีการขยายตัวของกลุ่มลูกค้าและมีการส่งเสริมการขาย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26