ประสิทธิผลการใช้ปลอกสวมขาเพื่อป้องกันการงอของขาหนีบ หลังการตรวจสวนหัวใจ

ผู้แต่ง

  • มณีรัตน์ ภาคธูป คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาอิสเทิร์นเอเชีย
  • อัญชลี เชี่ยวโสธร นักวิชาการอิสระ
  • นุจรินทร์ โพธารส คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาอิสเทิร์นเอเชีย
  • อติกร เสรีพัฒนานนท์ นักวิชาการอิสระ
  • บุษบา ทรัพย์ผ้าพับ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
  • ทิพวัลย์ สิทธิเสือ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
  • มนัญชยา ต้นทา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

คำสำคัญ:

ปลอกสวมขา, สวนหัวใจทางขาหนีบ, การงอขา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทางคลินิกมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผล ของปลอกสวมขาที่ใช้กับผู้รับบริการตรวจสวนหัวใจทางขาหนีบจำนวน 30 ราย และพยาบาลวิชาชีพจำนวน 19 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้อุปกรณ์ปลอกสวมขาต้นแบบและสังเกตการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังใช้อุปกรณ์ ระยะเวลาที่ใช้ และใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการและพยาบาลวิชาชีพต่ออุปกรณ์และหาค่าความตรงตามเนื้อหา และหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยวิธี แอลฟา ครอนบาค พบว่าแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการ และพยาบาล มีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ เท่ากับ0.77 และ 0.81 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามที่หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยวิธีของแอลฟา ครอนบาค เท่ากับ 0.92 และ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการวิจัยพบว่าผู้รับบริการตรวจสวนหัวใจทางขาหนีบมีอายุเฉลี่ย 65.77 ปีมีภาวะหัวใจขาดเลือดจากเส้นเลือดตีบ 3 เส้นร้อยละ 33.3 และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบมีการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่มีการยกตัวส่วน ST ร้อยละ 26.7การใส่ปลอกสวมขาพบว่าพยาบาลใช้เวลาเฉลี่ยในการใส่ปลอกสวมขา 3.13 นาที (SD = 1.54) และใช้เวลาในการถอดปลอกสวมขานาน 2.15 นาที (SD = 1.35) ค่าเฉลี่ยสัญญาณชีพของผู้ป่วยเมื่อเริ่มใส่ปลอกสวมขา และเมื่อถอดปลอกสวมขาอยู่ในเกณฑ์ปกติ และระยะเวลาในการใส่ปลอกสวมขา เฉลี่ย นาน 5.17 ชั่วโมง (SD =1.87, Range 2.00-8.30 ชั่วโมง)ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการใช้ปลอกสวมขา ในภาพรวมอยู่ที่ระดับปานกลาง  โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.26 (S.D.= .54) พยาบาลผู้ใส่ปลอกสวมขาแก่ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการใช้ปลอกสวมขาในภาพรวมอยู่ที่ระดับปานกลางโดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.41 (SD= .46) จากผลการวิจัยสรุปว่า ปลอกสวมขาสามารถป้องกันการขยับขาหนีบได้ตามเวลาที่กำหนด โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น แต่ควรปรับปรุงในเรื่องของวัสดุและรูปลักษณ์ เพื่อให้มีความสะดวกในการใช้งานและความพึงพอใจที่เพิ่มขึ้นทั้งจากผู้ป่วยและพยาบาล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26