การศึกษาการเพิ่มสมบัติหน่วงไฟผ้าฝ้ายย้อมครามธรรมชาติ สำหรับวิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมคราม

ผู้แต่ง

  • รชต บุณยะยุต หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • รัศมี แสงศิริมงคลยิ่ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • พรกมล สาฆ้อง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

คำสำคัญ:

ผ้าฝ้ายย้อมคราม , สมบัติหน่วงไฟ, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มสมบัติหน่วงไฟให้กับผ้าฝ้ายย้อมครามธรรมชาติสำหรับวิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมคราม บ้านดอนกอย อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย (1) การคัดเลือกวัตถุดิบ (2) การสกัดไคโตซานจากเกล็ดปลานิล (3) การเพิ่มสมบัติหน่วงไฟให้กับผ้าฝ้ายย้อมคราม (4) การทดสอบสมบัติหน่วงไฟ และ (5) การวิเคราะห์ต้นทุน พารามิเตอร์ที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าปริมาณออกซิเจนที่น้อยที่สุดที่ช่วยในการติดไฟ (Limiting Oxygen Index -- LOI) มาตรฐาน ASTM - D2863 ผลการวิจัยพบว่า (1) วัตถุดิบที่เหมาะสมในการสกัด ไคโตซานได้แก่ เกล็ดปลานิล ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีปริมาณมากและหาง่าย (2) การสกัดไคโตซานจากเกล็ดปลานิลใช้วิธีการต้ม (3) การเพิ่มสมบัติหน่วงไฟโดยเลือกวิธีการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน คือการจุ่ม ในระดับความเข้มข้นไคโตซานร้อยละ 1 น้ำหนักต่อปริมาตร ใช้เวลาในการจุ่ม 30 นาที ร้อยละการดูดซับ 1.89±0.76 เป็นสภาวะที่ดีที่สุด (4) การทดสอบสมบัติหน่วงไฟ ผ้าฝ้ายย้อมครามที่ผ่านการเพิ่มสมบัติหน่วงไฟและผ้าฝ้าย มีเปอร์เซ็นต์ค่าดัชนีออกซิเจน 19.1 และ 18.5 ตามลำดับ (5) การวิเคราะห์ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการเพิ่มสมบัติหน่วงไฟ เท่ากับ 26.41 บาท ต่อผ้า 1 ผืน (0.78 ตร.ม.)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25