หลังคาเขียวจากกล่องนมที่ใช้แล้วผสมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

ผู้แต่ง

  • ชัชชติภัช เดชจิรมณี วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • พรชัย ขันทะวงค์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ณิชาภา มินาบูลย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ทัศนีย์ ต้นดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

หลังคาเขียว, กล่องนม, วัสดุเหลือใช้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้วผสมของเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อผลิตกระเบื้องหลังคาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อัตราส่วนการผสมของกล่องดื่มที่ใช้แล้วผสมของเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ชานอ้อย ฟางข้าว และธูปฤาษี เท่ากับ 5, 10, 20 และ 30% โดยน้ำหนักของ ผลการวิจัยพบว่าการผลิตกระเบื้องหลังคาจากพลาสติกฟอยล์จากกล่องดื่มที่ใช้แล้วรวมกับของเหลือใช้ทางการเกษตรมีคุณภาพใกล้เคียงกับกระเบื้องหลังคาคอนกรีตที่ใช้ในปัจจุบัน การดูดซับน้ำของกระเบื้องหลังคาจาก ชานอ้อย ฟางข้าว และธูปฤาษีที่ใช้ในอัตราส่วน 5% เท่ากับ 5.87, 5.67 และ 6.23% ตามลำดับ ประสิทธิภาพของกระเบื้องหลังคาที่ผลิตจากวัสดุผสมเหล่านี้เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทยโดยมีความแข็งแรงในการรับแรงอัดของกระเบื้องหลังคาที่ผลิตได้สูงกว่า 450 N/cm2 ในทุกอัตราส่วนการผสม ดังนั้นกระเบื้องหลังคาที่ผลิตขึ้นนี้จึงจัดเป็นวัสดุก่อสร้างทางเลือกที่ช่วยลดขยะ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25