ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน ของผู้ประกอบอาชีพทำครกหิน จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • เสกสรรค์ ทองติ๊บ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันเสียง, การสูญเสียการได้ยิน, ผู้ประกอบอาชีพทำครกหิน

บทคัดย่อ

การสัมผัสเสียงดังจากการประกอบอาชีพจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการสูญเสียการได้ยิน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำครกหิน ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานที่ให้เกิดเสียงดัง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันการสูญเสียการได้ยินของผู้ประกอบอาชีพทำครกหิน จังหวัดพะเยา และกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเป็นผู้ประกอบอาชีพทำครกหิน จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ลักษณะประชากร การรับรู้ป้องกันเสียง ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันเสียง โดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-square test) และฟิชเชอร์ (Fisher's Exact test) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบอาชีพทำครกหินมีความผิดปกติทางหู คิดเป็นร้อยละ 7.3 ไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง คิดเป็นร้อยละ 12.2 มีการใช้สำลีอุดหู คิดเป็นร้อยละ 41.5 ส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้ป้องกันเสียง อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 78.0 และชนิดอุปกรณ์ป้องกันตนเองจากการสัมผัสเสียงที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันเสียงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และระดับการรับรู้ป้องกันเสียงแตกต่างกันไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันเสียงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 สรุป การเลือกใช้ชนิดอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่เหมาะสมนั้นจะช่วยลดการสัมผัสเสียงจากการทำครกหิน มากกว่านั้นยังเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันการเกิดการสูญเสียการได้ยิน ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมแหล่งกำเนิดเสียงดัง หรือจัดให้มีโปรแกรมการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน และส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงดังที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25