ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้น ที่มีต่อคำภาษาไทยและรูปภาพเร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์

ผู้แต่ง

  • จันทนา ยิ้มน้อย วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เสรี ชัดแช้ม วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปรัชญา แก้วแก่น วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สิริกรานต์ จันทเปรมจิตต์ วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

อารมณ์ประทับใจ, คลื่นไฟฟ้าสมอง, คำภาษาไทย, รูปภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอารมณ์ประทับใจในผู้ใหญ่ตอนต้นด้วยคลื่นไฟฟ้าสมอง จำแนกตามเพศและบุคลิกภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กิจกรรมการทดลองมองคำภาษาไทยและรูปภาพเร้าอารมณ์ด้านความประทับใจในผู้ใหญ่ตอนต้น เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง 64 ช่องสัญญาณ เก็บข้อมูลคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ (N100 N200 P300 และ N400 ) ขณะมองคำภาษาไทยและรูปภาพเร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Two-way ANOVA

                    ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เพศชายและเพศหญิง ขณะมองคำภาษาไทยและรูปภาพเร้าอารมณ์ ลักษณะพึงพอใจแตกต่างกันที่คลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ช่วงคลื่น N100 N200 P300 และ N400 ลักษณะไม่พึงพอใจแตกต่างกันที่คลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ช่วงคลื่น N200 P300 และ N400 นอกจากนี้ภายใต้บุคลิกภาพเปิดเผยและบุคลิกภาพกลาง ๆ พบว่าลักษณะพึงพอใจแตกต่างกันที่ช่วงคลื่น N100 N200  และ N400 ลักษณะไม่พึงพอใจแตกต่างกันที่ช่วงคลื่น N200 และ P300 จากงานวิจัยนี้พบว่าคำภาษาไทยและรูปภาพเร้าอารมณ์ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสมองมนุษย์ที่แตกต่างกันระหว่างเพศและบุคลิกภาพ

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25