บทบาทของสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ต่อการยับยั้งเซลล์มะเร็งในระดับโมเลกุล

ผู้แต่ง

  • อังคณา วงษ์สกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

แคโรทีนอยด์, แคโรทีน, ฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง

บทคัดย่อ

มะเร็งเป็นหนึ่งในโรคที่ทำให้ประชากรเสียชีวิตมากที่สุด อีกทั้งมีกลไกในการปรับตัวและการหลีกหนีจากยาเคมีบำบัดต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันนักวิจัยหรือทางการแพทย์ได้ตระหนักถึงปัญหาและพยายามที่จะศึกษาการยับยั้งกลไกต่าง ๆ ของการเกิดมะเร็งอีกทั้งลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาเคมีบำบัด ซึ่งสารกลุ่มแคโรทีนอยด์เป็นสารจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งปอด, มะเร็งเต้านม, มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น มักพบในผักและผลไม้ที่มีสีแดง ส้ม เขียว เช่น ฟักทอง, แครอท, มะละกอ, บร็อคโคลี และเป็นแหล่งของสารกลุ่มเคโรทีนอยด์ เช่น แอลฟาแคโรทีน (alpha-carotene), เบต้าแคโรทีน (beta-carotene), ไลโคปีน (lycopene) โดยในปัจจุบันได้มีการศึกษาทั้งในหลอดทดลอง (In vitro) และในสัตว์ทดลอง (In vivo) เกี่ยวกับบทบาทของสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ในการยับยั้งกลไกการเกิดเซลล์มะเร็งในระดับโมเลกุล เช่น ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์, ยับยั้งกระบวนการซ่อมแซมตัวเอง และกระตุ้นโปรแกรมการตายของเซลล์ เป็นต้น ซึ่งการยับยั้งกลไกเหล่านี้จะสามารถฆ่าหรือลดการเกิดมะเร็ง และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาฤทธิ์จากสารจากธรรมชาติที่อาจจะนำไปพัฒนาเป็นยาได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25