ถอดบทเรียนวิกฤต PM 2.5

ผู้แต่ง

  • ธีรพงศ์ บริรักษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ฝุ่นละออง PM2.5 , ดัชนีคุณภาพอากาศ, สารก่อมะเร็ง, มลพิษในอากาศ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้และผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์หมอกควันและมลพิษจากฝุ่นละออง  การนำเสนอมาตรฐานคุณภาพอากาศและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา   ในช่วงต้นปี 2562 สถานการณ์หมอกควันและมลพิษจากฝุ่นละอองในประเทศไทยทำให้เกิดภาวะวิกฤตคุณภาพอากาศ ส่งผลให้ดัชนีคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครติดอันดับ 1 ใน 10 เมืองของโลกที่มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานความปลอดภัย มีการประมาณการในเบื้องต้นว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาที่ประสบอยู่นี้หากเกิดขึ้นในกรอบเวลา 1 เดือน จะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นเงินขั้นต่ำ 2,600 ล้านบาท หรืออาจพุ่งสูงถึง 6,600 ล้านบาท ในกรณีเลวร้าย ทั้งในประเด็นสุขภาพ ต้นทุนค่าเสียโอกาสการใช้จ่ายและการท่องเที่ยว  ปัญหาฝุ่นละอองยังขยายตัวในวงกว้างทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ฝุ่นละออง PM2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์  ตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งเป็นสาเหตุให้ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในขณะที่รายงานของธนาคารโลก (world  bank) ระบุว่ามลพิษในอากาศในประเทศไทยทำให้มีผู้เสียชีวิตจากก่อนวัยอันควรมากถึง 50,000 ราย ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ส่งผลทั้งทางด้านสุขภาพและทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ภาครัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน รวมทั้งนักวิชาการต่างพยายามแก้ไขปัญหามลพิษในอากาศทั้งทางด้านการกำหนดนโยบายและการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบข้อมูล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25