ระบบควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในห้องเรียนแบบอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยี Internet of thing: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

ผู้แต่ง

  • กิตติเชษฐ์ นนทะสุด คณะการบิน มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • พีรพนธ์ ตัณฑ์จยะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

เทคโนโลยี Internet of Thing, พลังงานไฟฟ้า, ห้องเรียน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอการสร้างระบบควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในห้องเรียนแบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี Internet of Thing เพื่อควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกติดตั้งภายในห้องเรียนให้มีการใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับจำนวนผู้ใช้งานในห้องเรียนนั้นๆ ส่งผลให้การใช้พลังงานไฟฟ้าของห้องเรียนลดลงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในงานวิจัยนี้จะทำการควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) การควบคุมค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้  และ (2) การควบคุมค่าความต้องการพลังงานสูงสุด ซึ่งได้มีการทดลองติดตั้งระบบควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในห้องเรียนของมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย จำนวน 2 ห้อง สามารถจำแนกอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในห้องเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) เครื่องปรับอากาศ และ(2) ไฟแสงสว่าง ซึ่งใช้เวลาในการทดลองจำนวน 4 เดือน เพื่อเปรียบเทียบค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าก่อนและหลังติดตั้งระบบควบคุมฯ จากผลการวิจัยพบว่าระบบนี้สามารถควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในห้องเรียนให้ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 8.12 และสามารถควบคุมการเกิดค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดลดลงร้อยละ 32.35 ซึ่งระบบควบคุมนี้เมื่อทำการติดตั้งจะมีจุดคุ้มทุนที่ประมาณ 4.9 เดือน ซึ่งถือได้ว่าระบบควบคุมนี้เป็นอีกระบบหนึ่งที่สามารถช่วยบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าในเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของห้องเรียนแต่ละห้อง ซึ่งระบบควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้านี้สามารถนำไปปรับใช้กับห้องเรียนที่แตกต่างออกไปได้ง่าย และที่สำคัญใช้งบประมาณในการลงทุนต่ำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย