ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองเก่า จังหวัดพิจิตร
คำสำคัญ:
พฤติกรรมป้องกันโรค, โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองเก่า จังหวัดพิจิตร จำนวน 152 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ค่าสัมประสิทธิอัลฟาครอนบาคมีค่าระหว่าง 0.813 - 0.922 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้า และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 2.68, SD. = 0.173) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ รายได้ (eta = 0.241, p = 0.031) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค (r = -0.174, p = 0.032) การรับรู้อาการเตือนของโรค (r = 0.246, p = 0.002) ความคาดหวังถึงผลของพฤติกรรมการป้องกันโรค (r = 0.322, p < 0.001) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันโรค (r = 0.609, p < 0.001) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้อาการเตือนของโรค และรายได้ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 45.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05