การผลิตกระเบื้องยางจากเส้นใยธรรมชาติผสมยางเครป (ขี้ยาง) เพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์แร่ใยหิน

ผู้แต่ง

  • พรชัย ขันทะวงค์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ทัศนีย์ ต้นดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ณิชาภา มินาบูลย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ชัชชติภัช เดชจิรมณี วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

กระเบื้องยาง, ยางเครป (ขี้ยาง), เส้นใยธรรมชาติ, แร่ใยหิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรเศษยางผสมเส้นใยจากทะลายปาล์มเปล่าที่เหมาะสมในการทำกระเบื้องยางปูพื้น เพื่อนำของเสียจากกระบวนการสกัดปาล์มน้ำมันที่เป็นเศษวัสดุเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าเศษยางธรรมชาติที่มีราคาตกต่ำให้มีค่ามากขึ้น โดยใช้ยางเครปในปริมาณเท่ากับ 100 phr ต่อเส้นใยธรรมชาติที่ผ่านการย่อยในปริมาณ 0 5 10 20 50 และ 80 phr ตามลำดับ และผสมปริมาณสารเคมีในอัตราส่วนคงที่ ประกอบด้วย ซิงค์ออกไซด์ 5 phr กรดสเตียริก 2 phr กำมะถัน 3 phr เมอร์แคบโตเบนโซไทเอซอล 0.5 phr ไดฟินิลกัวนิดีน 0.2 phr นำมาบดผสมด้วยเครื่องบดแบบสองลูกกลิ้ง แล้วอัดขึ้นรูปด้วยวิธีการอัดแบบร้อนที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ได้แผ่นกระเบื้องยาง ขนาด 15x15x0.2 เซนติเมตร ผลการวิจัยพบว่า กระเบื้องยางจากเส้นใยธรรมชาติผสมยางเครป (ขี้ยาง) อัตราส่วน 10 phr มีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้ปูพื้น เนื่องจากมีค่าความแข็งแรงและความต้านทานการสึกหรอที่มากขึ้น ส่วนความหนาแน่นและสัมประสิทธิ์การนำความร้อนมีค่าลดลง เมื่อเทียบกับกระเบื้องยางที่ไม่มีเส้นใยธรรมชาติ

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย