อันตรายจากฟอร์มาลดีไฮด์ในสำนักงานและที่พักอาศัย

ผู้แต่ง

  • Thanawut Suradmanee Faculty of Public Health, Eastern Asia University

คำสำคัญ:

ฟอร์มาลดีไฮด์, อาคารสำนักงาน, อาคารที่พักอาศัย

บทคัดย่อ

ปัจจุบันรูปแบบการใช้ชีวิตของมนุษย์ส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ใช้ชีวิตอยู่ภายในอาคาร เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย ร้านค้า แม้กระทั้งที่พักอาศัย ดังนั้นอากาศภายในอาคารจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อสุขภาพ สารฟอร์มาลดีไฮด์เป็นมลพิษทางอากาศสามารถพบได้ในอากาศภายในอาคาร (indoor air) องค์กรสากลของประเทศสหรัฐจัดให้สารฟอร์มาลดีไฮด์เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (carcinogen) อุตสาหกรรมประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีการใช้ฟอร์มาลดีไฮด์เพื่อนำไปผลิตยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์สูงถึง ร้อยละ 70 ของการผลิตทั้งหมด โดยยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์สำนักงาน อุปกรณ์ตกแต่งในที่พักอาศัย เป็นต้น และยังมีการพบว่า ปัจจัยที่ทำให้ฟอร์มาลดีไฮด์ถูกปล่อยออกจากเฟอร์นิเจอร์ต่าง คือ อุณหภูมิที่สูง และการระบายอากาศที่ไม่ดีพอ ดังนั้น ผู้ที่อาจต้องมีการสัมผัสกับฟอร์มาลดีไฮด์ที่แอบแฝงตามเครื่องไม้ เฟอร์นิเจอร์ ควรระมัดระวังการรับสัมผัสทั้งการหายใจ และสัมผัสทางผิวหนัง เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-28