ผลของการออกกำลังกายร่วมกับสมาธิบำบัดในผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลินตำบลวังสวาบ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การออกกำลังกายร่วมกับสมาธิบำบัด, ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน, โรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน, ระดับน้ำตาลในเลือดบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลินในตำบลวังสวาบ (2) เปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังการออกกำลังกายร่วมกับสมาธิบำบัดของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลินในตำบลวังสวาบ (3) ศึกษาผลของการออกกำลังกายร่วมกับสมาธิบำบัดของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลินในตำบลวังสวาบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อยู่ในกลุ่มติดบ้านจำนวน 30 คนที่มีคุณสมบัติดังนี้ เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน สามารถเข้าร่วมการวิจัยเป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีระดับน้ำตาลเลือดมากกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ติดต่อกัน3 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกพฤติกรรม ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.91 คู่มือฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายร่วมกับสมาธิบำบัด แบบประเมินการรับประทานอาหาร เครื่องมือที่ใช้คือเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทุกครั้ง และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (BADL) จากกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข คู่มือวิธีการปฏิบัติการออกกำลังกายร่วมกับสมาธิบำบัดด้วยเทคนิค SKT 3 ที่พัฒนาเทคนิคโดยสมพร กันทรดุษฏี-เตรียมชัยศรี (2009) ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงและไม่เคยออกกำลังกายร่วมกับสมาธิบำบัด ร้อยละ 100 (2) หลังการเข้าร่วมกิจกรรมระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 95( = 95, SD = 12.89) ซึ่งต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ (3) พบว่าหลังการเข้าร่วมกิจกรรม มีระดับคะแนนของ BADL มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 15.17 ( = 15.17, SD = 1.95) ซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันว่าอยู่ระดับที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้(กลุ่มติดสังคม)