การพัฒนาแนวทางปฏิบัติทางคลินิกในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • Usa Iamlaor Angthong Hospital

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติในการจัดการความปวด, ความพึงพอใจ, หลังผ่าตัด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา(Developmental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกการจัดการความปวดในห้องพักฟื้น (CPG) 2. เพื่อประเมินประสิทธิผลของ CPG กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นวิสัญญีพยาบาลจำนวน10รายและและผู้ป่วยที่มาผ่าตัดและได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย จำนวน330 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบบันทึกข้อมูลในห้องพักฟื้น แบบบันทึกความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาลและผู้ป่วยในการจัดการความปวดทางคลินิกในห้องพักฟื้นวิธีการเก็บรวมรวมข้อมูลโดยการรวบรวมใบบันทึกการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ไคสแควร์ และ General linear model   ผลการวิจัย พบว่า(1) ระยะหลังดำเนินการการพัฒนาวิสัญญีพยาบาลปฏิบัติตามCPG เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ76.4 เป็นร้อยละ93.3และ99.2ตามลำดับระยะของการพัฒนามีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติCPGของวิสัญญีพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001) (2)ค่าเฉลี่ยความปวดก่อนออกจากห้องพักฟื้น มีความสัมพันธ์ของระยะของการพัฒนา พบว่าระยะของการพัฒนา มีความสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดก่อนออกจากห้องพักฟื้นโดยระยะการพัฒนาที่แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยความปวดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.005) ก่อนดำเนินการใช้ CPGค่าเฉลี่ยความปวดแตกต่างจากหลังดำเนินการใช้ CPG1.187 ส่วนขณะดำเนินการใช้ CPGค่าเฉลี่ยความปวดแตกต่างจากหลังดำเนินการใช้ CPG0.758 คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ป่วยและวิสัญญีพยาบาลในการใช้CPGอยู่ในระดับดี
x=4.37และ4.14

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย