การเผชิญปัญหาและการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท
คำสำคัญ:
ครอบครัวญาติผู้ดูแล, การปรับตัว, วิธีการเผชิญปัญหา, โรคจิตเภทบทคัดย่อ
ครอบครัวหรือญาติผู้ดูแลมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการดูแลระยะยาวในบุคคลที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิตที่เรียกว่า โรคจิตเภท (schizophrenia disorder) นับได้ว่าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดรุนแรงและเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญมาโดยตลอด พบมากเป็นอันดับ 1 ของผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมดในหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งผู้ป่วยโรคจิตเภทจะมีความผิดปกติทางด้านความคิด การรับรู้ อารมณ์ พฤติกรรมการตัดสินใจและความบกพร่องทางหน้าที่การงานและสังคม มีผลต่อการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของทั้งตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัวและญาติผู้ดูแล เมื่อสมาชิกในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยทางจิตย่อมก่อให้เกิดความเครียด ส่งกระทบต่อระบบหรือโครงสร้างของครอบครัว สัมพันธภาพภายในครอบครัว ความรับผิดชอบหรือการรับรู้ภาระที่เกิดขึ้นของครอบครัว ยิ่งถ้าสมาชิกในครอบครัวไม่เข้าใจ ไม่สามารถปรับตัวและเผชิญปัญหาไม่เหมาะสม จะก่อให้เกิดความเครียดที่มากขึ้น ส่งผลต่อการรับรู้ภาระแห่งตนที่สูงขึ้นและเกิดพฤติกรรมการดูแลเชิงลบตามมา และในระยะต่อๆ ไปนั้นครอบครัวหรือญาติผู้ดูแลอาจเริ่มทอดทิ้งผู้ป่วยให้เป็นภาระของโรงพยาบาลหรือสังคมในที่สุดDownloads
เผยแพร่แล้ว
2017-12-25
How to Cite
Smithnaraseth, A. (2017). การเผชิญปัญหาและการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online), 11(3), 43–56. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/101732
ฉบับ
บท
บทความวิชาการ