การศึกษาความสบายเชิงอุณหภาพของคนไทยภายในสถาปัตยกรรมประเภทโบสถ์

ผู้แต่ง

  • Sasitorn Srifuengfung Faculty of Architecture, Assumption University

คำสำคัญ:

ความสบายเชิงอุณหภาพ, การสำรวจความรู้สึกเชิงความร้อน, แบบจำลองความสบายเชิงอุณหภาพ, โบสถ์หลวงประจำรัชกาล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคสนาม มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสมการจำลองสภาวะสบายเชิงอุณหภาพ (thermal comfort model) เพื่อนำเสนอการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัยที่มีต่อความรู้สึกสบายทางความร้อน หรือที่เรียกว่าความสบายเชิงอุณหภาพของคนไทยภายใต้สภาวะแวดล้อมอาคารประเภท “โบสถ์” ที่ไม่ปรับอากาศ ประกอบไปด้วยตัวแปรสิ่งแวดล้อม 6 ตัวคือ ค่าอุณหภูมิอากาศ ค่าความชื้นอากาศ ค่าอุณหภูมิการแผ่รังสีความร้อน ความเร็วลม ค่าระดับกิจกรรมของคน และค่าชนิดของเสื้อผ้าที่สวมใส่ จำนวนผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งสิ้น 1,600 คน ภายใต้เงื่อนไขที่ผู้ทดสอบอยู่ในท่านั่งพื้น การแต่งกายปกติแบบคนใช้กิจกรรมทางศาสนาในโบสถ์ ระยะเวลาเก็บข้อมูล 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2560ในเวลากลางวันตั้งแต่ 8.00 น ถึง 18.30 น. จากอาคารโบสถ์ประจำรัชกาลทั้ง 9 รัชกาล ทั้งหมด 8 แห่งเพื่อให้สามารถนำความรู้นี้ไปปรับใช้ในการเพิ่มลดปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาวะน่าสบายให้กับสถาปัตยกรรมประเภท “โบสถ์” ที่ไม่ปรับอากาศในประเทศไทยโดยใช้ one-way ANOVA เป็นสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อค้นพบของการศึกษานี้ พบว่า ความสบายเชิงอุณหภาพของคนไทย สูงกว่า ความสบายเชิงอุณหภาพที่กำหนดโดย ASHRAE (อุณหภูมิ 22-27 °c และความชื้นโดยประมาณ 22-80 %) คือ กรณีไม่ปรับอากาศอุณหภูมิที่คนไทยรู้สึกสบายอยู่ที่ 30.95 °c ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ 64.12 % และสร้างสมการจำลองสภาวะสบายเชิงอุณหภาพได้ดังนี้ COMFORTthai=  9.416 -0.228 tempdb-0.041MRT-0.009 RH+0.388 V+0.107MET+0.781CLO

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย