ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • Eakpop Junsukon Faculty of Science and Technology, Pibulsongkram Rajabhat University
  • Wiphada Srijaroen Faculty of Science and Technology, Pibulsongkram Rajabhat University
  • Kingkaew Samruayruen Faculty of Science and Technology, Pibulsongkram Rajabhat University

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก  และ (2) ศึกษาปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอเมืองจำนวน 366 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับดีมาก รองลงมาได้แก่ ดี และพอใช้ (ร้อยละ  57.70,  38.80 และ3.60) ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่พยากรณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่  ทัศนคติ (p-value  < 0.001 ) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (p-value < 0.001) แรงสนับสนุนทางสังคม (p-value = < 0.001) อายุที่เริ่มป่วยเป็นโรคเบาหวาน(p-value  < 0.001) และการศึกษาระดับประถมศึกษา(p-value = 0.037 ) (Beta =  0.388, 0.263, 0.185, 0.168, และ -0.090  ตามลำดับ)โดยตัวแปรทั้ง 5 ตัว  สามารถร่วมกันพยากรณ์ของพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกได้ร้อยละ 39.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย