ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ต่อการรับรู้พลังอำนาจ และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, การเสริมสร้างพลังอำนาจ, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเรื้อรัง, พฤติกรรมการป้องกันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่ม วัดก่อนหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้พลังอำนาจ และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง โดยใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังใน ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คน ทำการเปรียบเทียบคะแนนการรับรู้พลังอำนาจ และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองโดยใช้สถิติ t-test เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดการรับรู้พลังอำนาจในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งมีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .87 ค่าความเที่ยงเท่ากับ .80 และแบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง มีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .92 ค่าความเที่ยงเท่ากับ .79 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้พลังอำนาจ (t = 2.74, p <.05) และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (t = 4.74, p <.05) เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจสามารถส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังมีการรับรู้พลังอำนาจ และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองที่ดีขึ้นDownloads
เผยแพร่แล้ว
2017-12-25
How to Cite
ฉบับ
บท
บทความวิจัย