รูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการดูแล, การดูแลผู้สูงอายุ, โรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ ซึ่งส่งผลให้เกิดข้อจำกัดของกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทำให้ต้องกลับมารักษาในโรงพยาบาลซ้ำและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและทางการแพทย์สูง ดังนั้นการจัดการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างเป็นระบบ จะทำให้ลดผลกระทบและภาวะแทรกซ้อนที่สามารถป้องกันได้ให้กับผู้ป่วย ลดปัญหาด้านสังคม พฤติกรรมและอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล เครียด กลัว ก้าวร้าว เป็นต้น โดยเฉพาะปัญหาภาวะซึมเศร้า เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่พบในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าปัญหาที่พบมากที่สุดในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน คือ การมีความรู้และทักษะไม่เพียงพอในการดูแลผู้ป่วย ทำให้ประสบความยากลำบากในการดูแล และเกิดความเครียดขึ้นได้ และหากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ มักเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา บทความนี้จึงมุ่งนำเสนอสาระสำคัญในการจัดการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจนถึงระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ สำหรับบุคคลทั่วไป บุคลากรทางสาธารณสุข และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในชุมชน ซึ่งพยาบาลเป็นบุคลากรที่สำคัญในการดูแลและเป็นผู้ประสานงานจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง และการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านDownloads
เผยแพร่แล้ว
2017-12-25
How to Cite
ฉบับ
บท
บทความวิชาการ