รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล โดยแบ่งการวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาอุบัติการณ์การเกิดความผิดพลาดของนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยและศึกษาการรับรู้และความตระหนักรู้ของนักศึกษาพยาบาลที่ฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยกับความสามารถในการบริหารความเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน เป็นนักศึกษาพยาบาล (ชั้นปีที่ 3 และ 4) และอาจารย์พยาบาล การสนทนากลุ่มอาจารย์และอาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึก จำนวน 28 คน ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ทดลองใช้นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 23 คน ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .98 และระยะที่ 3 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการบริหารความเสี่ยงกับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ตามแนวคิดการบริหารความเสี่ยง ได้แก่ การค้นหาความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง การจัดการกับความเสี่ยง การประเมินผลการจัดการความเสี่ยง มี 8 องค์ประกอบที่มีชื่อว่า A-IO-KG-RSF
2. ผลของของการใช้รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
2.1 ค่าเฉลี่ยผลต่างคะแนนความตระหนักรู้ในการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยของผู้ป่วยภายหลังได้รับรูปแบบมีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับรูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01)
2.2 ค่าเฉลี่ยของผลต่างคะแนนความสามารถในการบริหารความเสี่ยง ภายหลังได้รับรูปแบบมีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับรูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
Boonmee, P., Mahamitrwongsan, S. & Kavila, M. (2018). Knowledge, perception and awareness towards risk management and the safety of patients in nursing students at Boromaraj College of Nursing Chonnee Phayao. Journal of Nursing and Education, 11(3), 112-124. (in Thai).
Chaleoykitti, S., Kamprow, P. & Promdet, S. (2014). Patient safety and quality of nursing service. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15 (2), 66-70. (in Thai).
Charoenphong, S., Pommala, W., Wongaree, C. & Pinichpan, G. (2022). Safety leadership: challenging new steps for nurse leaders. Journal of Nakhonratchasima College, 15(3), 443-452. (in Thai).
Girdley, D., Johnsen, C. & Kwekkeboom, K. (2009). Facilitating a culture of safety and patient- centered care through use of a clinical assessment tool in undergraduate nursing education. Journal of Nursing Education, 48(12), 702-715.
Harnyoot, O. (2014). Nursing process and implications. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(3), 137-143. (in Thai).
Jantiya, S., Chotesukhathai, N., Khantaruksawong, S. & Wiparat Suwanwaihpattana, W. (2019). promoting competency in personnel safety goal for nursing students. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima, 25(2), 213-228. (in Thai).
Jongpantanimit, P. (2018). Risk management in high alert drug use among nursing students. Journal of Phrapokklao Nursing College, 29(1), 205-214. (in Thai).
Ketvatimart, M., Pulom, N., Chuencham, J. & Phanpom, C. (2017). The development of promoting competency model of risk management and patient safety care among nursing students. Boromarajajonani College of Nursing, Saraburi, 9(4), 74-89. (in Thai).
Krejcie, R. V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Psycholological measurement. 607-610.
Seangon, L., Kawinsuporn, P., Songsittikul, T., Suthiwichai, N. & Thongcharoen, P. (2023). A study of the components of a risk management modelin professional practice of nursing students, collegeof nursing, Christian Universityof Thailand: a case study of Ratchaburi Hospital. Journal of Nursing Science Christian University of Thailand, 10(1), 15-33. (in Thai).
Srisa-at, B. (2013). Preliminary research. 9th. printing. Bangkok: Suwareeyasan. (in Thai).
Thongkaew, S., Thongsuk, P. & Thiangchanya, P. (2018). Patient safety awareness among novice nurses working in general hospitals in Southern Thailand. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(1), 62-73. (in Thai).
Vincent, C. (2010). Patient safety (2nd ed.). Chichester: Wiley Blackwell.
World Health Organization. (2009). Conceptual framework for the international classification for patient safety version 1.1: Technical Report.
Wilson, J. & Tingle, J. (1999). Clinical risk modification: A route to clinical governance. Oxford: Butterworth-Heinemann.
Wuthimapagron, N., (2014) Professional nurses's caring behavior for the patients safety in Kasemrad Hospital Group. Veridian E-Journal, 7(1), 698-711. (in Thai).