การศึกษาเปรียบเทียบการปรับตัวในช่วงความปกติรูปแบบใหม่ระหว่างกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่มีความแตกต่างกันด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล และการป้องกันตนเองจาก COVID-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการปรับตัวในช่วงความปกติรูปแบบใหม่ (New normal) ของนักศึกษาและ 2) เพื่อเปรียบเทียบการปรับตัวของนักศึกษาจำแนกตามเพศ ภูมิลำเนา รายได้ต่อเดือน แหล่งเงินทุนในการเรียน เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมปลาย (GPAX) สำนักวิชา ลักษณะหอพัก จำนวนสมาชิกร่วมห้องพัก ประวัติการได้รับวัคซีน COVID-19 ประสบการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ลักษณะการเรียนและความสามารถในการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 347 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 283 คน (81.56%) เก็บข้อมูลออนไลน์โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น โดยการส่ง QR-Code วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ t-test และ ANOVA เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยวิธี Least-Significant Difference (LSD)
ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยการปรับตัวในช่วง New normal ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในภาพรวมและรายด้าน (ด้านการเรียน สังคม อารมณ์และการเข้าร่วมกิจกรรม) อยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่แตกต่างกันที่มีผลการปรับตัวของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ความสามารถในการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันตนเองจาก COVID-19 ของนักศึกษา ประเภทของหอพัก (ห้องปรับ
อากาศ, ห้องพัดลม) จำนวนสมาชิกร่วมห้องพัก (2, 3, 4 คน) ลักษณะการเรียน (On-site, on-line, on-site
และ on-line) และรายได้ต่อเดือน โดยนักศึกษาที่มีความสามารถในการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันตนเองที่แตกต่างกันมีการปรับตัวในภาพรวมและทุกด้านแตกต่างกัน นักศึกษาที่พักหอพักแตกต่างกันมีการปรับตัวในภาพรวมและด้านอารมณ์แตกต่างกัน นักศึกษาที่มีจำนวนสมาชิกร่วมห้องพักแตกต่างกันมีการปรับตัวในด้านการเรียนแตกต่างกัน นักศึกษาที่มีลักษณะการเรียนแตกต่างกันมีการปรับตัวด้านอารมณ์แตกต่างกัน และนักศึกษาที่มีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีการปรับตัวด้านการเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวในช่วง New Normal ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความพร้อมของอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 รายได้ต่อเดือน รูปแบบการเรียน และจำนวนสมาชิกร่วมห้องในหอพัก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
Hunsuwan, K., Wongplomhiran, S. (2020). Instructional management in the new normal in the COVID-19 Crisis. Journal of Nisitwang, 22(2), 51-59. (in Thai).
Khempet, N., (2018). The ability of adaptation of the undergraduate freshmen in college of politics an governance, Mahasarakham university. Journal of Politics and Governance, 8(2), 186-199. (in Thai).
Maenin, T. (2021). Adaptation of the first year class of bachelor degree level in Chitraladatechnology institute. Journal of Rattana Bundit University, 16(2), 74-90. (in Thai).
Morasakul, B. & Punthasee, P. (2021). Knowledge and prevention behaviors regarding COVID-19 among the first-year nursing students of Saint Theresa international college and Saint-Louis college. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 15(37), 179-195. (in Thai).
Ontongtim, S., Laochirankul, P., Pojpanichphong, S & Duangtip, C. (2017). The adjustment of the first year undergraduate students of higher education in Sittutes within Muang district in Chaing Rai province. APHEIT Journals, 6(1), 18-25. (in Thai).
Petchprayoon, C., Lertratdechakul, C. & Phatthanaphakdi, N. (2011). Self-adjustment ability of first year students in public university. The Journal of KMUTNB, 21(1), 157-166. (in Thai).
Puttanont, W. (2020). “New Normal” Thai education with 4 new ways of learning. Retrieved from https://www.thebangkokinsight.com/news/business/367124/. (in Thai).
Royal Society of Thailand. (2022). “New normal”. Retrieved from https://royalsociety.go.th/บัญญัติศัพท์-new-normal/. (in Thai).
Ruangsri, B., Wisetkan, A., Noonsakun, S. & Rungrangsee, W. (2021). Teaching and learning in the new normal Covid-19 era using the format on-site teaching and learning. Journal of Human Society, The Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, 11(2), 29-45. (in Thai).
Sangsawangwatthana, T., Sirisaiyas, N. & Bodeerat, C. (2020). “New normal” a new way of life and adaptation of Thai people after Covid-19: work education and business. Journal of Local Governance and Innovation, 4(3), 371-386. (in Thai).
Sansupa, K., Kongkranphan, U., Sucaromana, U. & Nantasen, P. (2020). The adjustment of undergraduate student in pandemic Covid-19. Journal of MCU Humanities Review, 6(2), 83-97. (in Thai).
Srisaard, B. (2010). Basic research. Bangkok: Suweeriyasan. (in Thai).
Suwannakhot, N. (2010). The adjustment of the first year undergraduate student at Naresuan University. Journal of Education Research Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 7(2), 134-141. (in Thai).
Tanyarattanasrisakul, M., Lamsa-Ard, U., Singthong, N., Paiboon, K., Chamkeaw, C., Jamsawang, P. …Rodyoo, M. (2021). Adaptation under the coronavirus disease 2019 epidemic situation of matthayomsuksa 6 students of Rachineeburana school. Journal for Social Scinces Research, 12(1), 212-228. (in Thai).
Wae, A. (2020). COVID-19 and learning to change health behaviors today. Journal of The Health Education Professional Association, 35(1), 24-29. (in Thai).
Walailak University. (2021). Graduate passport system for good people. Retrieved from
https://studentpassport.wu.ac.th/. (in Thai).
Walailak University. (2022a). Guidelines for teaching and learning management Hospitalization at Walailak university H=hospital and the investigation of high-risk exposed persons in the case of COVID-19 detection among staff and students. Retrieved from https://www.wu.ac.th/th/news/21454. (in Thai).
Walailak University. (2022b). COVID-19. Retrieved from https://www.wu.ac.th/th/all/COVID-19/222. (in Thai).