สมุนไพรไทยกับสุขภาพช่องปาก “คุณค่าที่เลือกได้”

Main Article Content

ส่งศักดิ์ สุขสันต์
สุภาภร สุดหนองบัว

บทคัดย่อ

          ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาที่สำคัญในงานสาธารณสุข และเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย อาการเจ็บปวดจากการมีรอยโรคภายในช่องปากส่งผลให้ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ หรือการไม่มีฟันบดเคี้ยวอาหาร ส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหาร มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง และยังส่งผลต่อเนื่องไปถึงความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ  ในปัจจุบันประชาชนหันมาสนใจการใช้สมุนไพรเพิ่มมากขึ้น จากการสืบค้นข้อมูลพบคุณสมบัติต่าง ๆ ของสมุนไพรที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากในการป้องกันและรักษาโรค เช่น สมุนไพรที่ใช้ในการป้องกันโรคฟันผุ หรือบรรเทาอาการอักเสบจากแผลในช่องปาก สมุนไพรลดการอักเสบที่เกิดจากเหงือกอักเสบ บทความนี้จึงได้รวบรวมสมุนไพรในการนำมาใช้ให้เกิดผลดีต่อทันตสุขภาพด้วยวิธีการต่าง ๆ ผลการรวบรวมและเรียบเรียงสมุนไพรตามสรรพคุณสามารถจัดเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม คือ 1) สมุนไพรที่ช่วยส่งเสริมและป้องกันโรคในช่องปาก  2) สมุนไพรที่ช่วยรักษาอาการที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก  3) สมุนไพรที่ช่วยฟื้นฟูสภาพในช่องปาก การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวันเป็นประโยชน์ทำให้ประชาชนเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันตนให้ห่างไกลจากโรค

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic article)

References

Chanthone, P. (2008). Drink healthy. Bangkok. Printing base company. (in Thai).

Faculty of Pharmacy Ubon Ratchathani University. (2014). Herbal medicines database [Online].Retrieved (2014, July 19). from www.thaicrudedrug.com (in Thai).

Jitaram, P., Thanawongphokin, T. & Kitsanapun, A. (2017). Fruit & teeth. Thai Dental Nurse Journal, 28(1), 141-148 (in Thai),

Mathurasai, W., Phoolcharoen, W. & Sooampon, S. (2018). Thai herbs: the potential application in adjunctive periodontal therapy. Journal of the Dental Association of Thailand, 68(1), 1-12. (in Thai).

Office of Plant Genetic Conservation Project under the royal initiative Ratana Rajabhat Institute. (2014). 200 kinds of medicinal properties. [Online] Retrieved (2014, July 14). from www.rspg.or.th/plants_data/herbs/ (in Thai)

Rangsiyanon, S. et al. (2012). Thai wisdom and Thai dental applications. Thailand: Srinakharinwirot University. (in Thai).

Sutinakit, P. (2009). Anti-inflammatory and bone dissolution of khoi leaf extract in human gum fibers on periodontal disease activation. (Master’s thesis). Khonkaen University. (in Thai).

Tanthasit, Y., Sridaket, S. & Wathanathirangkun, A. (2014). Vegetables and herbs for good oral health. Journal of Dental public health, 25(2), 89-98. (in Thai).