การพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องด้านข้อมูลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจากโรงพยาบาล สู่ชุมชนแห่งหนึ่ง ตำบลน้ำหนาว อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

นิภาวรรณ สุจริตธรรม
เพชรไสว ลิ้มตระกูล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องด้านข้อมูลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนแห่งหนึ่ง ตำบลน้ำหนาว อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 20 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 6 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 10 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการบันทึกภาคสนาม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนการดำเนินการ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ระบบบริการสุขภาพอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 2) วางแผนการปฏิบัติงาน 3) การปฏิบัติงาน 4) ประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนาและข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ระยะเวลาการวิจัยระหว่างเดือนสิงหาคม 2562 ถึง เดือน พฤษภาคม 2563


          ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีการรับรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงไม่เพียงพอต่อการดูแลตนเอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีการส่งต่อข้อมูลจากคลินิกโรคความดันโลหิตสูงไปยังหน่วยปฐมภูมิเป็นบางราย และมีแนวทางการดูแลต่อเนื่องไม่ชัดเจน อสม. มีการรับรู้เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนน้อย การดูแลส่วนใหญ่เป็นการวัดความดันโลหิตให้ผู้ป่วยที่บ้าน ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงได้ร่วมกันกับตัวแทนผู้ให้ข้อมูลในการวางแผนและการปฏิบัติงาน  มีการพัฒนางานโดยการวางแผนการดูแลต่อเนื่องและส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจากคลินิกไปยังหน่วยปฐมภูมิและชุมชน มีแนวทางการเยี่ยมบ้านชัดเจน มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิต และ อสม. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตได้รับการเยี่ยมบ้านและส่งต่อข้อมูลมายังหน่วยปฐมภูมิและคลินิก ส่งผลทำให้เกิดการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

American Heart Association. (2017). Know your risk factors for high blood pressure. Retrieved (2019, February 10) from https://www.heart.org/en/health-topics/high-blood-pressure/why-high-blood-pressure-is-a-silent-killer/know-your-risk-factors-for-high-blood-pressure

Division of Non communicable disease. (2017). Thailand national NCD plan2017-2021. Retrieved (2018, December 15). from https://www.iccp-portal.org/system/files/plans /ThailandNationalNCDplan2017-2021.pdf. (in Thai).

Health Data Center. (2018). Hypertension. Retrieved (2018, December 20) from https://pnb.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php (in Thai).

Kanhachin, H. & Limtragool, P. (2020). Improvement of care for patients with diabetes mellitus ata health promoting hospital in Phibun Rak district, Udon Thani province. Journal of Nursing and Health Care, 38(3), 186-195. (in Thai).

Kedsawang, N. (2015). The development of continuing care for uncontrol hypertensive patient in Baan Nongno, Kudjab subdistrict, Kudjab district, Udonthani province (Master’s thesis). Khon Kaen, Khon Kaen University. (in Thai).

Nilvarangkul, K. (2015). Action research for vommunity Nursing. Khon Kaen: Klangnanawittaya. (in Thai).

Pangbuddee, M. & Chomnirat, W. (2021). Development practice guideline of hypertension patients for chronic kidney disease prevention in a community in Nongdaeng Subdistrict, Si Chomphu District, Khon Kaen Province. Research and Development Health System Journal, 14(3), 179-191. (in Thai).

Thai Hypertension Society. (2015). Guidelines in the treatment of hypertension 2019. Retrieved (2018, December 15). from http://www.thaihypertension.org/files/13.08Dec200614-AttachFile1165561514.pdf

Thiputai, P. & Limtragool, P. (2019). Guideline improvement for health behavior modificationto promote self-efficacy of pre-diabetic patients at a community in Kalasin province. Songklanagarind Journal of Nursing, 39(3), 123-136. (in Thai).

Wajamun, J. & Chomnirat, W. (2019). The development of guideline for caring patients withdiabetic nephropathy at secondary care, Nakhonratchasima Province. Journal of Nursing and Health Care, 37(1), 175-184. (in Thai).

World Health Organization. (2018). Concepts: continuity and coordination of care. France: World Health Organization.