ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดอย่างมีแบบแผนต่อความปวดและการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดช่องท้องในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บช่องท้อง

Main Article Content

ทวีศักดิ์ แก้วเปี้ย
อินทิรา ปากันทะ
ธิดารัตน์ คำบุญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการความปวดอย่างมีแบบแผนต่อความปวดและการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดช่องท้องในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บช่องท้อง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องรุนแรงที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง จำนวน 52 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง    กลุ่มละ 26 ราย เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการจัดการความปวดอย่างมีแบบแผนโดยใช้แนวคิดการจัดการอาการของ Dodd et al (2001) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) สมุดบันทึกการจัดการความปวดด้วยตนเอง 3) แบบเยี่ยมอาการผู้ป่วย และ 4) แบบประเมินการปฏิบัติตนหลังได้รับการผ่าตัดช่องท้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแคว์ สถิติฟีชเชอร์และสถิติทดสอบทีแบบสองกลุ่ม


          ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการจัดการความปวดอย่างมีแบบแผนมีค่าเฉลี่ยความปวดเมื่อครบ 72 ชั่วโมง ภายหลังได้รับการย้ายไปหอผู้ป่วยสามัญต่ำกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p<.01) และค่าคะแนนการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดช่องท้องสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการให้ข้อมูลการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดช่องท้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p<.001)  ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการจัดการความปวดอย่างมีแบบแผนสามารถบรรเทาความปวดและส่งเสริมการปฏิบัติตนในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องจากบาดเจ็บ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Chowsantia, Ch., Wongpiriyayothar, A., Boonpromteerakul, Ch., & Meethien, N. (2012). Effects of a symptom management program on postoperative ileus among peptic ulcer perforation patients after emergency surgery. (Master’s thesis). Mahasarakham University, Mahasarakham. (In Thai).

Dodd, M., Janson, S., Facione, N., Faucett, J., Froelicher, E. S., Humphreys, J., Lee, K., Miaskowski, C., Puntillo, K., Rankin, S., & Taylor, D. (2001). Advancing the science of symptom management. Journal of Advanced Nursing, 33(5), 668-676.

Hinkle, J., & Cheever, K.H. (2018). Brunner & Suddarth’s: Textbook of mediacl-surgicalnursing. (14th). Philadelphia: Wolters Kluwer.

Ignatavicius, D.D., & Workmann, M. L. (2010). Medical-surgical nursing: Patient-centered collaborative care (volume 2) (6 th). St.louis: Elsevier Saunder.

Innok, J. (2008). The effects of preparatory information on pain and distress in patients undergoing abdominal surgery. (Master’s thesis). Mahasarakham University, Mahasarakham. (in Thai).

Medical records and statistics of Uttaradit Hospital. (2020). Statistical of patients admitted for ICU trauma . Uttaradit Hospital. (in Thai)

Ochum, K. (2006). The effect of pain management program with music listening on pain of post emergency abdominal surgical patients. Chularlongkorn University, Bangkok. (in Thai).

Phamornpon, S. (2016). The role of nurse in promoting early poatoperative ambulation.Thai Red Cross Nursing Journal, 9(2), 14-23. (in Thai).

Puakya, J., & Thanaslip, S. (2013). Effects of a symptom management program on postoperative ileus among patients after emergency surgery. Journal of Bureau of Alternative Medicine, 6(1), 3-19. (in Thai).

Saeangchai, J., Piyasut, Ch., & Kaewkulpat, S. (2020). Multimodal pain management: goal setting for postoperative pain. Boromarajonani College of Nursing Uttaradit Journal, 11(2),161-171. (in Thai).

Saleesongsom, P., Wangsrikhun, S., & Sukonthasarn, A. (2022). Effect of the constipation prevention program on constipation occurrence in immobilized patients. Boromarajonani College of Nursing Uttaradit Journal, 14(1), 16-30. (in Thai).

Shippee-Rise, R. V., Feizer, S., & Long, J.V. (2012). Postoperative pain management.Nursing journal, 40(4), 48-51.

Sommongkol, S., Leethong-in, M., Panpruek, W., & Charoensinsub, V. (2016). Factor related to the recovery after urgent abdominal surgery in older persons. Journal of Nursing and Health care, 35(3), 165-174. (in Thai).

Sujajing, A. (2017). Pre-and post-operative nursing activities and post-operative recovery among patients undergone abdominal surgery. Chiangmai University, Chiangmai. (in Thai).

Thosingha, O. (2017). Factors related to recovery in patients after total hysterectomy. Nursing Science Journal of Thailand, 35(2), 12-20. (in Thai).

World health organization. (2018). Global status report on road safety 2018. Retrieved (2023, May 1) from https://www.sdgmove.com/2022/02/10/who-global-sttus-report-on-road-safety-2018/