รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการบริหารจัดการระบบอาหาร และโภชนาการเพื่อส่งเสริมโภชนาการชุมชนตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการบริหารจัดการระบบอาหารและโภชนาการเพื่อส่งเสริมโภชนาการชุมชนตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การค้นหา สำรวจและวิเคราะห์ปัญหา ระยะที่ 2 ระยะวางแผนปฏิบัติการ ผู้ให้ข้อมูลหลักคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 30 คน คือ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 2) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 3) โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4) ภาคประชาชน เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวคำถามสนทนากลุ่ม แบบบันทึกข้อมูลการบริโภคผักและผลไม้ และแบบประเมินภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. สถานการณ์ด้านอาหารและโภชนาการและศักยภาพของท้องถิ่นในการจัดการอาหารและโภชนาการในชุมชน พบปัญหา 1) ภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียนและวัยเรียน 2) พฤติกรรมบริโภคไม่เหมาะสม 3) ขาดระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของตำบล (ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลขาดอุปกรณ์การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ) 4) ขาดการส่งเสริมการรวมกลุ่มอย่างต่อเนื่อง 5) กรอบอัตรากำลังนักโภชนาการชุมชนไม่ชัดเจน 6) ขาดการพัฒนาแกนนำภาคประชาสังคม (คณะกรรมการโภชนาการของตำบล) 7) ขาดการจัดการระบบเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค
2. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการบริหารจัดการระบบอาหารและโภชนาการเพื่อส่งเสริมโภชนาการชุมชน มีองค์ประกอบ 1) กำหนดเป้าหมายและความต้องการของชุมชน 2) ทุนทางสังคมด้านอาหาร 3) เครือข่ายการดำเนินงานประกอบด้วย อปท. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน รพ.สต. โรงพยาบาลชุมชน แกนนำหมู่บ้านและ อสม. 4) กระบวนการเชื่อมต่อเครือข่าย 5) เครื่องมือที่ใช้ในการขับเคลื่อน คือ แผนพัฒนาตำบลด้านอาหารและโภชนาการเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมรับรู้ปัญหา ร่วมวางแผน ร่วมทำ และร่วมประเมินผล 6) กิจกรรมพัฒนาเครือข่าย ประกอบด้วย 6.1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พัฒนาศักยภาพครูในการใช้สื่อ ส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ เพิ่มเมนูผัก ผลไม้ 6.2) โรงเรียน พัฒนาศักยภาพครูในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ พัฒนาศักยภาพแม่ครัว ส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ โครงการอาหารกลางวัน 6.3) รพ.สต. โรงพยาบาลชุมชน สนับสนุนความรู้ เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ 6.4) แกนนำหมู่บ้าน และ อสม. รวมกลุ่มปลูกผักอินทรีย์สร้างระบบห่วงโซ่ผักและผลไม้ ปลอดภัย และร่วมเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ 7) ผลลัพธ์คือ “ตำบลต้นแบบการจัดการอาหารและโภชนาการในชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
Ampansirirat, A., Suwanraj, M., Wannawilai, P. & Thongmeekhaun, T. (2016). Social capital and food security in a rural community: Khuan Ru Sub-district, Rattaphum District, Songkhla Province. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 35(2), 324-335. (in Thai).
Attharot, T. & Boonpiamsak, T. (2013). The development of health promotion models for young children before studying with family and community involved. The Journal of Nursing Science and Health, 36 (3), 15-26. (in Thai).
Bareau of Nutrition, Department of Health. (2019). Five-year National Nutrition Action Plan2019-2023 Under Strategy 3, Food Studies, Strategic Framework for Food Management in Thailand, Issue 2 (2018-2037). Bankok: Amarin Printing & Publishing. (in Thai).
Bareau of Nutrition Department of Health. (2022).Situational data on trends: tall, disproportionate, short, skinny, fat and information situations related to the promotion of nutrition for women and early childhood. Retrieved (2022, November 1) from https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/nutrition/download/?did=198432&id=53862& reload= (in Thai).
Chanta, S., Inthep, A., Khanprasert, C. & Traisap, K. (2017). “The exploration of sustainabledevelopment circumstance on food security and ending hunger in Thailand for goal no. 2” under the research program on exploring the goal of sustainable development in Thailand and the optional economic, social, and legal measures. Retrieved (2021, April 12) from https://sdgmove.files.wordpress.com/2017/04/final-report-sdgs-goal-2.pdf. (in Thai).
Chiang Mai Provincial Public Health Office. (2021). Nutritional information. National Statistical
Office in collaboration with UNICEF. (2017). Complete report Survey on the situation of children and women in Thailand, 2019. Bangkok: National Statistical Office. (in Thai).
Kongkhum, S. (2018). Social capital on sustainable community management: A case study of Bannbonamsub Community, Moo 1, Khuntalae Sub-district, Lansaka District, Nakhon Si Thammarat Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 1727-1743. (in Thai)
Jantarathikanon, O. & Wattanaprapa, N. (2019). A Study on malnutrition among children. documents for the 2nd National Conference on Humanities and Social Sciences Students' Research Presentation on January 19, 2019 at the Faculty of Humanities and Social Sciences Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai).
National Statistical Office. (2021). Number and proportion of population from registration Classified by age group (children, working age, old age), gender, region and province, 2011–2020. Retrieved (2021, April 12) from
http: //statbbi.nso.go.th/ staticreport/ page/ sector/th/01.aspx. (in Thai).
Office of the National Economics and Social Development Council. (2020). Documents forthe meeting of the Board of Directors for Sustainable Development. AccelerateThailand's drive towards sustainable development . Retrieved (2021, April 12) from https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=9779 & filename= (in Thai).
Piampongsarn, T., Totemchokechaikan W. & Niwatsaiwong, S. (2017). Thailand’s early childhood development policy. Bangkok: Future Innovative Thailand Institute: FIT (in Thai).
Stringer, E. T. (2007). Action research (3 Edition). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Yueran, S. & Waratwichit, C. (2018). Participatory action research and the Success of Policy Change in Health System. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(2), 288-300. (in Thai).