ความหมายและพฤติกรรมอัตลักษณ์คุณธรรม: การรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์
พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการรับรู้ความหมายและพฤติกรรมอัตลักษณ์คุณธรรมของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 22 ราย โดยมีการเกณฑ์การคัดเลือก คือ 1) เป็นผู้แทนนักศึกษาตำแหน่งนายกสโมสร หรืออุปนายกสโมสรนักศึกษา หรือผู้แทนนักศึกษาแต่ละชั้นปี และ 2) ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมทบทวนและประกาศนโยบายคุณธรรมของวิทยาลัยพยาบาลฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบอัตลักษณ์ 9 หัวใจคุณธรรมนำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ (SHAPE BCNB) ซึ่งประกอบด้วย ประเด็นคำถามทั้งหมด 9 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) จิตบริการ 2) ซื่อสัตย์ 3) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) การมีส่วนร่วม 5) วิทยาลัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6) สามัคคี 7) มีวินัย 8) เทคโนโลยีและนวัตกรรมนำสมัย และ 9) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยในแต่ละประเด็นคำถามจะมีคำถามเกี่ยวกับความหมายและพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์คุณธรรมนั้น ๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาตามแนวคิดของ Johnson และ LaMontagne


          ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีการรับรู้ความหมายของอัตลักษณ์คุณธรรมตามกรอบ SHAPE BCNB
ได้อย่างชัดเจนทั้ง 9 คุณลักษณะ ซึ่งนักศึกษาสามารถอธิบายพฤติกรรมอัตลักษณ์ที่โดดเด่นใน 5 คุณลักษณะ ได้แก่ จิตบริการ ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนอีก 4 อัตลักษณ์ อธิบายคุณลักษณะพฤติกรรมได้ไม่ชัดเจน คือ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วม เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยอัตลักษณ์คุณธรรมของนักศึกษามีความหลากหลายในแต่ละองค์ประกอบ จึงควรมีความเข้าใจต่อความหมายและพฤติกรรมอัตลักษณ์คุณธรรมเพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ จัดสิ่งแวดล้อมและหล่อหลอมพฤติกรรมคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม วิทยาลัยพยาบาลควรสร้างความตระหนักและความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์คุณธรรมร่วมกับนักศึกษาตั้งแต่เข้าสู่วิทยาลัยพยาบาลเพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสและพื้นที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Johnson, L. & LaMontagne, M. (1993). Research methods using content analysis to examine the verbal or written communication of stakeholders within early intervention. Journal of Early Intervention, 17(1), 73-79.

Ministry of Public Health. (2016). Thailand 20 years strategic plan and reforms (public health aspect). Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai).

Muenya, S. (2020). The development of the indicators for the humanized health care identity of nursing students of Borommarajonani College of Nursing, Uttaradit. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 12(2), 1-12. (in Thai).

Nawsuwan K., & Didyasarin Sattayaraksa, W. (2016). The components of nursing student identity in nursing college, Ministry of Public Health. HCU Journal of Health Science, 19(38), 77-92. (in Thai).

Nawsuwan K., Chotibun, P. & Singsri, T. (2016). Strategies to develop the nursing students’ identity in nursing students in Boromarajonani College of Nursing, Songkhla. SDU Research Journal, 12(3), 147-163. (in Thai).

Pongsathonviboon, K. (2013). Development of a life-long learning assessment form for students of the Kuea Karun faculty of nursing, Bangkok Metropolis University. Thai Journal of Nursing Council, 28(3), 43-54. (in Thai).

Popattanachai, U., & Phetriang, S. (2015). Development of nursing student identity in BoromarajonaniCollege of Nursing Suratthani. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 25(2), 103-115. (in Thai).

Sirilai, S. (2013). Chariyasat samrap phayaban (Ethics for Nurses). 13th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai).

Weerawatthanodom, N., Sirisakkulpaisal, B., Nitirat, P., Tangwongkit, T., & Kerdmuang S. (2019). Development of the identity of graduated nurses “The humanized health care”. Lampang Rajabhat University Journal, 8(2), 167-180. (in Thai).