รูปแบบการขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงในเขตพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ประภาพร เมืองแก้ว
นภดล เลือดนักรบ
อนัญตญา จันทรมณี

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ในเขตพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทตำบลพลายชุมพล  อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตำบลพลายชุมพล จำนวน 21 คน เลือกแบบเจาะจงคุณสมบัติ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพลายชุมพล พยาบาลวิชาชีพผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ 1 คน กำนัน นายกเทศมนตรี ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ประธานชมรมผู้สูงอายุ เลขาชมรมผู้สูงอายุ ประธานชมรมจิตอาสา ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรม 4 คน ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน  เจ้าอาวาสวัดวังหิน และผู้ดูแลหลักของผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง 7 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือ แนวทางการสนทนากลุ่ม  แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก และร่างรูปแบบการขับเคลื่อนการดูแลผู้ป่วยติดเตียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Thematic analysis  


          ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือ 2) การกำหนดนโยบายความร่วมมือ 3) การเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แกนนำชุมชนและเครือข่าย 4) การดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงแบบมีส่วนร่วม และ 5) การประเมินผลการดำเนินงาน ปัจจัยความสำเร็จ คือ 1) การเป็นหุ้นส่วนกัน 2) การให้คุณค่ากันและกัน 3) การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และปัญหาอุปสรรค คือ ด้านการประสานความร่วมมือ ด้านความชัดเจนของแผนการดำเนินงาน ด้านความรู้ ทัศนคติ ทักษะและความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงแบบองค์รวมของผู้ดูแลและเครือข่าย ข้อเสนอแนะ คือ คณะทำงานขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงควรประสานความร่วมมือกันจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงที่มีความชัดเจนและเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมด้วยการเสริมความรู้ ทัศนคติ ทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงแบบองค์รวมที่คำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Charnsamorn, S. (2017). Collaborative networking with neighborhoods and access to living ASEAN: Kohkret, Nonthaburi . An independent study. Master of political science. Thammasat University. (in Thai).

Damrikanlerd, L. (2017). Situation of the current Thai elderly society. Situation report Thai Elderly 2018. Health System Research Institute. Bangkok. (in Thai).

Guest G., MacQueen KM. & Namey EE.( 2011). Applied thematic analysis. California: SAGE publication.

Jantavanich S. (2009). Data analysis in qualitative research. 9th printing: Chulalongkorn University Press.

Manorath, P et al. (2015). Self-health care of the buddhist elderly in suburban area: a case study Ban Na-Plong, tambon Tha-Sao, amphur Muang, Uttaradit Province. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 7(2), 46-60. (in Thai).

National Health Security Office. (2016). Manual to support the management of the long-term health care system for the elderly who are dependent In the National Health Security System: Bangkok. (in Thai).

Phlai Chumphol sub-district health promoting hospital. (2019). Aging health status report of Phlai Chumphol Sub-district Health promotion Hospital. Phitsanulok Provincial Public Health Office. (in Thai).

Phlai Chumphol sub-district health promoting hospital. (2020). Aging health care report of Phlai Chumphol Sub-district Health promotion Hospital. Phitsanulok Provincial Public Health Office. (in Thai).

Phitsanulok Provincial Public Health Office. (2018). Aging population of Phitsanulok report. Phitsanulok Provincial Public Health Office. (in Thai).

Phuaksawat, P. & Nakkhun, N. & Rotchanarak, W. (2016). Situations, problems, and health care needs for home-bound and bed-bound chronically ill patients in Suratthani Municipal. Community Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 26(2),55-64. (in Thai).

Suangkaew, S.& Manorath, P. (2014). Collaborative community based practice for undergraduate nurse students: a case study of collaborative between Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit and urban health center. Journal of Nursing and Education, 7(1), 83-96. (in Thai).

System Reform Committee for the Access to the Elderly Society of Thailand. (2016). System reform report for the aging Society. Department of Older Persons. Ministry of Social Development and Human Security. (in Thai).

Thailand Development Research Institute. (2018). Situation report Thai Elderly 2018. Thailand Development Research Institute. Bangkok. (in Thai).

Thailand Development Research Institute Bureau of Promotion and Protection of the Elderly. (2018). Situation report Thai Elderly 2018.Bangkok. (in Thai).

United Nation. (2015). World populations ageing 2015. New York.