ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยของรัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและสังเคราะห์ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยของรัฐ 2) เพื่อสร้างโมเดลสมการโครงสร้างยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยของรัฐ และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยของรัฐกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 8 สถาบัน จำนวนห้องเรียน 8 ห้องเรียน และจำนวนนักศึกษา 480 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) ตัวแปรในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ตัวแปรทำนาย 2) ตัวแปรตามยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล โดยใช้แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล คลอบคลุม 20 ตัวแปรสังเกตได้ (Observed Variables) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model) แบบมีตัวแปรแฝง (Latent Variable)
ผลการวิจัยพบว่า
1 องค์ประกอบของยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยของรัฐ มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) การระบุปัญหาและวางแผนการเรียน 2) การปฏิบัติกิจกรรมการเรียน และ 3) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข
2 โมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยของรัฐ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยของรัฐ ที่มีอิทธิพลทางตรง คือ การรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และลักษณะมุ่งอนาคตที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม คือ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และที่มีอิทธิพลทางอ้อม คือ เจตคติต่อการเรียนและความภาคภูมิใจในสถาบัน
3. ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดล พบว่าโมเดลสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า X2 = 94.963, df = 74, p = .051, CFI = .998, TLI = .994, RMSEA = .024, SRMR = .031 และ X2 / df = 1.283 เมื่อพิจารณาขนาดอิทธิพลของตัวแปรทำนายที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล พบว่า ปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และปัจจัยลักษณะมุ่งอนาคต มีอิทธิพลทางตรงต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R2 = .708) อธิบายได้ว่าตัวแปรทำนายทั้งสามสามารถอธิบายองค์ประกอบยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 70.80
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
Fiedler, F. E., & Chemers, M. M. (1974). Leadership and effectiveness management. Glenville, IL: Scott.
Gauy, F., Mageau, A., & Vellerand, J. R. (2003). On the hierarchical of self-determined motivation: a test of top-down, bottom-up, reciprocal, and horizontal effect. Personality and Social Psychology Bulletin, 29, 992-1004
Hossler, D., & Stage, F. K. (1992). Family and high school experience influences on the postsecondary educational plans of ninth-grade students. American Educational Research, 29, 425-451.
Hox, J. J.(2002). Multilevel analysis: Techniques and applications. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Kanchanawasi, S. (2007). Multilevel Analysis. 4th edition, Bangkok: Chulalongkorn University (in Thai).
Kertpit, P., & Chatsuphakun, K. (2000). Learning strategies and education of teenage students. Sector Academic Guidance and Educational Psychology Srinakharinwirot University: Bangkok. (in Thai).
Maddox, H. (1985). How to study. London: The English Language Book Society.