การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะประจำสายงานของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย

Main Article Content

ผดุงศิลป์ เพ็งชะอุ่ม
บุญเรียง ขจรศิลป์
ธนีนาฏ ณ สุนทร

บทคัดย่อ

          งานวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบประเมินสมรรถนะประจำสายงานของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะประจำสายงานของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้แบบประเมินสมรรถนะประจำสายงานของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและศึกษาระดับสมรรถนะประจำสายงานของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย ซึ่งการวิจัยมี 3 ขั้นตอน 1) พัฒนาแบบประเมินสมรรถนะประจำสายงานของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด ผู้วิจัยทำการพัฒนาโดยใช้แนวคิดสมรรถนะเฉพาะหน้าที่งาน โดยใช้เกณฑ์การประเมินสมรรถนะของสมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดร่วมกับใช้หลักการของรูบริคมาสร้างเป็นมาตรวัด  2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะประจำสายงานของพยาบาลห้องผ่าตัด โดยใช้หลักการหาค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินโดยมีผู้ประเมิน 2 คน ทำการประเมินพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดจำนวน 30 คน และวิเคราะห์ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และ 3) ทดลองใช้แบบประเมินสมรรถนะประจำสายงานของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด โดยใช้พยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดจำนวน 330 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2560 ใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบประเมิน 


       ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบประเมินสมรรถนะประจำสายงานของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยสมรรถนะซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1.1 ระยะก่อนผ่าตัดมีจำนวน 6 สมรรถนะ 1.2 ระยะผ่าตัดมีจำนวน 5 สมรรถนะ 1.3 ระยะหลังผ่าตัดมีจำนวน 4 สมรรถนะ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินพบว่ามีค่าความตรงเชิงเนื้อหา และมีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินเท่ากับ .99 3) ผลการทดลองใช้แบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย พบว่าแบบประเมินมีความตรงเชิงโครงสร้าง และระดับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย ทั้งในระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัดอยู่ในระดับที่ 4 ทุกประเด็น

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Angsuchoti, S., Wijitwanna, S. & Pinyopanuwat, R. (2014). Analysis statistic for social sciences and behaviors research: LISREL program technique (4 editions). Bangkok. Charoendi Mankhong Kanphim. (in Thai).

Assalee, R. (2010). Perioperative nursing (2 editions). Bangkok. N P press. (in Thai).

Benner, P. (1984). From novice to expert: Excellence and power in clinical nursing practice. California: Addison-Wesley.

Dapha, S. (2008). Operting room nurse competencies perceived by nursing experts and registered nurses working in operating rooms, university hospitals across Thailand. Doctural dissertation. Khonkhen University, Khonkhen. (in Thai).

Meesuttha, A. & Sachukorn, S. (2009). Performance evaluation. Bangkok: TSB product. (in Thai)

Marrelli A.F., Tondora J., & Hoge M.A (2005). Strategies for developing competency models. Administration and Policy in Mental Health, 32(5/6), 533-561

Nursing division, Department of Medical Services, Ministry of Public Health. (2008). Nursing standard in hospitals (2 editions). Nonthaburi: The War Veterans Organization of Thailand. (in Thai).

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational
Research. 2, 49-60.

Sawaengdee, K. (1999). Risk administration: a part of nursing quality assurance. Journal of Nursing Division, 26(3), 66-79. (in Thai).

Singchugcha, P. (2006). Principles and using Multivariate statistics analysis for nursing research (3 editions). Songkhla. Chanmuang Press. (in Thai).

Sae-Sia. W.et. al. (2008). Research conduct status and perceived barriers of research Utilization in Master prepared nurses who graduated from the Factulty of Nursing, Prince of Songkla University. Songklanagarind Medical Journal, 26(5), 451-458

Tirakanant, S. (2007). Construction of a variable measuring instrument in social science research: A guide to action. Bangkok. The Chulalongkorn University Press. (in Thai).

Tangdhanakanond,K. (2016). Measurement and practical skill evaluation. Bangkok: Chulalongkorn University Printery. (in Thai).

The Thai Perioperative Nurses Association. (2011). Perioperative nurses competencies. Bangkok. Bangkok Medical Publisher. (in Thai).