การวิเคราะห์ต้นทุนและความคุ้มค่าของการเรียนการสอนในสถานการณ์เสมือนจริง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

Main Article Content

สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
วรวุฒิ แสงทอง
นภชา สิงห์วีรธรรม
อติญาณ์ ศรเกษตริน
กิตติพร เนาว์สุวรรณ

บทคัดย่อ

          การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จําลอง (Simulation based learning: SBL) เป็นวิธีการสอนให้นักศึกษาเกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางทฤษฎีสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนรายกิจกรรม (Activities Based Costing: ABC) และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าตามชั่วโมงมาตรฐาน เป็นการศึกษาต้นทุนทางบัญชีในมุมมองของการจัดการศึกษา (Education Provider perspective) เก็บข้อมูลปีงบประมาณ 2563 ในวิทยาลัยพยาบาล 4 แห่ง ในสังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก โดยเก็บข้อมูลกิจกรรมการเรียนรู้ทางห้องปฏิบัติการพยาบาล (Nursing Laboratory)  ร่วมกับสถานการณ์เสมือนจริงจากหุ่นจำลองฝึกทักษะด้านการตรวจวินิจฉัยโรค และช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง (SimMan®) หุ่นจำลองสถานการณ์การทำคลอดขั้นสูง (SimMom®) และ หุ่นฝึกจำลองทารก (SimBaby®) โดยใช้แบบบันทึกกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน แบบบันทึกต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน และผลผลิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปนำเสนอด้วยสถิติ จำนวน และ ร้อยละ วิทยาลัยพยาบาลทั้ง 4 แห่งในการศึกษานี้มีการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์เสมือนจริง ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการพยาบาล SimMan® SimMom® และ SimBaby® ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล  และหลักสูตรการฝึกอบรมเฉพาะทาง มีต้นทุนทางตรงเฉลี่ย เท่ากับ 7,054,470.61 ต่อปีการศึกษา มีร้อยละต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าครุภัณฑ์ เท่ากับ 63.38, 6.56 และ 30.06 ตามลำดับ ต้นทุนกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน Sim man เท่ากับ142,234.01 บาทต่อชุดการเรียนรู้ การสอน Sim mom เท่ากับ 228,826.10 บาทต่อชุดการเรียนรู้ การสอน Sim baby เท่ากับ 213,317.36 บาทต่อชุดการเรียนรู้ การประเมินความคุ้มค่า กรณีต้นทุนครุภัณฑ์ทั้งหมดคงเหลือตามจริงในห้องปฏิบัติการพยาบาล และ Sim man มีความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ในชั่วโมงมาตรฐานและต้นทุนการใช้งาน ชั่วโมง/คน/ครั้ง แต่ในกรณีต้นทุนครุภัณฑ์เฉพาะหุ่นและอุปกรณ์เสริมตามเกณฑ์อายุการใช้งาน 5 ปี ไม่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับชั่วโมงมาตรฐานและต้นทุน
การใช้งานต่อชั่วโมง/คน/ครั้ง   วิทยาลัยพยาบาลควรมีการพิจารณาจำนวนชั่วโมงการใช้งานครุภัณฑ์ทางด้านการศึกษาเพื่อให้สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้งานครุภัณฑ์ราคาแพง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Commercial Foundation KMITL.Mishra P, Kereliik K. (2012). What 21st century learning? a review and a synthesis 2012. Retrieved (2021, April 15) from: http://www.punya.Edu.msu.edu/publications/21stCenturyKno wledge-PM-KK.pdf.

Cleland, V. & Mckibbin, R. (1990). The economics of nursing. norwalk : applenton & lange.

Drummond, M.F., McGuire A. (2007). Ecnomomic evaluation in health care: merging theory with practice. Oxford: Oxford University Press.

Drummond M., Stoddart G. & Torrance G. (2015). Method for the economic evaluation for the economic evaluation of health care programmers. 4th ed. Oxford: Oxford University Press.

Duangmanee, K. (2005). Cost accouting. Bangkok: Chulalongkorn Print. (in Thai).

Kaewsonthi, S. & Kamolrattanakul, P. (1993). Health economics: an analysis and evaluation in public health. Bangkok: Chulalongkorn. (in Thai).

Khaopanya, T. Siripron, L. & Rattana, L. (2016). Analysis of durable articles uses of office of gerneral education KhonKaen University. Council of University administrative staff of Thailand Journal, 6(3), 26-36.

Madyusho, V. & Litprak, K. (2018). Analysid of the durable articles uses of engineering faculty, Prince of Songkla University. Academic Services Journal Prince of Songkla Universtiy. 21(3), 129-143. (in Thai).

Office of the Council of State. (2003). Royal decree on rules and procedures for good government management. Bangkok: Office of the Council of State. (in Thai).

Office of the Higher Education Commission. (2014). Manual of internal education quality of teaching in higher education in education year 2014. Bangkok: Pappim. (in Thai).

Panich, V. (2013). Building a learning journey into the 21st century. Bangkok: Siam. (in Thai).

Phongsiri, P., Bootsri, W., Chobchaing, L., & Khanphupa, N. (2017). Unit cost of production analysis of Boromarajonani College of Nursing, Sunpasitthiprasong. Boromarajonani College of Nursing, Sunpasitthiprasong, 1(1), 75-91. (in Thai).

Praboromarajchanok. (1998). Unit cost of Nursing colleges and Boromarajonani College of Nursing in Praboromarajchanok institure, Ministry of public health in fiscal year 2539-2541. Nonthaburi, Praboromarajchanok Institute. (in Thai).

Praboromarajchanok. (2002). Determineing of unit cost of education management in in Praboromarajchanok institure. Nonthaburi, Praboromarajchanok Institute. (in Thai).

Riewpaiboon, A. (2018). Cost analysis in health systems. Bangkok: Saksopa; 2018. (in Thai).

Riewpaiboon, A., Kheawcharoen, O., Batsungnoen, P., Wongphan, T., Techakehakij, W., Singweratham, N., & Phodha, T. (2018). Cost analysis of health promotion and disease prevention services. Bangkok: Faculty of Pharmacy, Mahidol University. (in Thai).

Robinson M.& Last D. (2009). A basic model of performance-based budgeting. Washington
DC: Fiscal Affair Department.

Singweratham, N., Mualprasitporn, R., Sawaengdee, K., Jitaram, P. & Tassabutr, W. (2018). DeterminingUnit costs per Student and break-even point at nursing college of praboromarajchanok Institute, Thailand. Joumal of Health Science, 27(5), 936-947. (in Thai).

Shepard, D. S., Hodgkin, D., & Anthony, Y. E. (2000). Analysis of hospital costs: a manual for managers. Geneva: The World Health Organization; 2000.

Singweratham, N. (2002). Cost of health promotion service in state hospital under the universal health coverage’s core package (M.sc.). community medicine, Faculty of medicine. Chulalongkorn University. (in Thai).

Techakehakij, W., Singweratham, N., & Wongphan, T. (2018). Unit cost and bugget impact of compulsory programs for health promotion and disease prevention in Thailand. Bangkok: Aksorn graphic and design. (in Thai).

Turner, K.., Leungratanamart, L., Niranrat S., Jarnarerux, J., Wattanakull, B. & Reunreang. T. (2015). Twenty first century skills of Nursing Students of Boromarajonani College of Nursing, Chonburi. Nursing Journal of the Ministry of Public Health,14(5), 127-138. (in Thai).