การพัฒนาแบบวัดคุณภาพชีวิตสำหรับนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

ศุภามณ จันทร์สกุล
อนันต์ตรี สมิทธิ์นราเศรษฐ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดคุณภาพชีวิตสำหรับนักศึกษาพยาบาล (EAUNQOLS) ที่มีคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนภาคกลาง จำนวน 817 คน วิธีดำเนินการวิจัย 1) ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแบบวัดคุณภาพชีวิตและออกแบบข้อคำถามในแบบวัดเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 45 ข้อ และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดโดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากค่า I-CVI, S-CVI, CVR และ CVI  ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและองค์ประกอบเชิงยืนยัน ตรวจสอบความตรงเชิงลู่เข้าจากค่าเฉลี่ยความแปรปรวนที่สกัดได้ (AVE) และความเที่ยงขององค์ประกอบ (Construct/Composite Reliability: CR)  ตรวจสอบความตรงเชิงจำแนกโดยเปรียบเทียบค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความแปรปรวนที่สกัดได้ ( ) กับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ระหว่างองค์ประกอบ และตรวจสอบความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในจากค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’ s alpha)


          ผลการวิจัยดังนี้ ผลการสำรวจองค์ประกอบพบแบบวัดคุณภาพชีวิตสำหรับนักศึกษาพยาบาล (EAUNQOLS) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .520 ถึง .852 ผ่านเกณฑ์จำนวน 32 ข้อ ประกอบด้วย   4 องค์ประกอบคือ 1) ด้านร่างกาย จำนวน 4 ข้อ 2) ด้านจิตใจ จำนวน 5 ข้อ 3) ด้านสังคม จำนวน 10 ข้อ และ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 13 ข้อ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยค่าดัชนีวัดความกลมกลืน Fit indice ต่าง ๆ ได้แก่ NFI, NNFI, CFI, IFI, RFI, GFI, AGFI และ PGFI มีค่าอยู่ระหว่าง .77 ถึง .95 และค่าความคลาดเคลื่อนได้แก่ Standardized RMR, RMR และ RMSEA มีค่าอยู่ระหว่าง .064 ถึง .086 ผลการตรวจสอบคุณภาพได้แก่ ความตรงเชิงเนื้อหาผ่านเกณฑ์โดยมีค่า S-CVI/UA = .969, S-CVI/Ave = .990, CVI = .980 ผลการตรวจสอบความตรงเชิงลู่เข้าผ่านเกณฑ์พบค่า


AVE เท่ากับ .907, .935, .947 และ .934 ตามลำดับ และค่า CR เท่ากับ .975, .986, .994 และ .994  ตามลำดับ  ผลการตรวจสอบความตรงเชิงจำแนกผ่านเกณฑ์พบค่า  ในแนวทแยงมุมอยู่ระหว่าง .952 ถึง .973 ซึ่งมีค่าสูงกว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ทุกค่าใต้แนวทแยงมุม ผลการตรวจสอบความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในของแบบวัดทั้งฉบับผ่านเกณฑ์พบค่า Cronbach’ s alpha เท่ากับ .929

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Anusornteerakul, C., Patharateeranart, K., Chaiweerapandej, C., Rungsiprakarn, P., Kanato, M., & Sinsupan, N. (2008). The Comparative study of quality of life between the medical students and general population in samleam community at the same age group. Srinagarind Medical Journal, 23(2), 200-206. (in Thai).

Campbell, A. (1972). Asprirations, Satisfaction and Fufillment. In A. Campbell & P. E. Converse (Eds.), The human meaning of social change. New York: Russell Sage.

Colver, A. (2009). Quality of life and participation. Developmental Medicine & Child Neurology, 51, 656-659.

Eurich, R. B., & Kluthcovsky, A. C. G. C. (2008). Evaluation of quality of life of undergraduate nursing students from first and fourth years: the influence of sociodemographic variables. Revista de Psiquiatria do Rio Grande do Sul, 30(3), 211-220.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis A global perspective. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Hendershott, A. B., Wright, S. P., & Henderson, D. (1992). Quality of life correlates for university student. National Association of Student Personnel Administrator Journal, 30(1), 11-19.

Kittisuksathit, S., Jamjan, C., Tangcholthip, K., & Holamyong, J.. (2014). Quality of life, work and happiness. 2nd edition. Institute for Population and Social Research Mahidol University. (in Thai).

Meeberg, G. A. (1992). Quality of life: a concept analysis. Journal of Advanced Nursing, 18(1). 32-38.

Moritz, A. R., Pereira, E. M., Borba, K. t. P. d., Clapis, M. J., Gevert, V. G., & Mantovani, M. d. F. t. (2016). Quality of life of undergraduate nursing students at a Brazilian public university. Invest. Educ. Enferm, 34(3), 564-572.

Moura, I. H. d., Nobre, R. d. S., Cortez, R. M. A., Campelo, V., Macêdo, S. F. d., & Silva, A. R. V. d. (2016). Quality of life of undergraduate nursing students. Revista Gaúcha de Enfermagem, 37(2), 1-7.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory. New York : McGraw-Hill.

Rinthaisong, I. (2014). Content validity index –CVI. Retrieved (2022, July 11). from https://sites.google.com/site/stats2researchs/student-of-the-month/johndoe. (in Thai).

World Health Organization (WHO). (1997). The world health organization quality of life instruments. Division of Mental health and prevention of substance abuse world health organization, 1-7.

Zhan, L. (1992). Quality of Life : Conceptual and measurement issues. Journal of Advanced Nursing, 17, 795-800.

Zhang, Qu, Lun, Wang, Guo & Liu. (2012). Quality of life of medical students in China: A study using the WHOQOL-BREF. PLOS ONE, 7(11). 1-9.