การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

พรพรรณ มนสัจจกุล
ธวัชชัย เขื่อนสมบัติ
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง
จิราพร วรวงศ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ 2) ศึกษาผลการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุโดยเปรียบเทียบความรู้ก่อน-หลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี จำนวน 187 คน รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการเชิงปริมาณ กระบวนการศึกษาประกอบด้วย 3 ระยะ คือ  1) วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ 2) ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทดลองใช้ ปรับปรุงกิจกรรม และ ประเมินผล 3) วิเคราะห์และสรุปผล  การวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ วิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า 1) ควรนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนของผู้เรียนโดยลักษณะการใช้ควรเป็นสื่อที่เสริมจากการเรียนแบบบรรยาย 2) กิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีองค์ประกอบของกิจกรรม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้จัดการรายวิชา  (Administrator) ด้านผู้เรียน (Learners)  และด้านการให้บริการกิจกรรม (Activity service) ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อรับรองคุณภาพของกิจกรรมพบว่ามีความเหมาสม 3) ผลการเปรียบเทียบคะแนนความรู้เฉลี่ยหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.05 และค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจด้านความง่ายและประโยชน์ในการใช้งานอยู่ในระดับมาก จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงถึงประโยชน์ของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เมื่อประยุกต์เพื่อจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ และควรมีการนำกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่น รวมทั้งลดข้อจำกัดในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ของผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Ebel, R.L. & Frisbie, D.A. (1986). Essentials of educational measurement. 4th edition. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Insaard, S. (2018). Design e-learning lessons for developing advanced thinking skills. 1st edition. Bangkok: Se-Education. (in Thai).

Khuana, T. & Khuana, K. (2018). Learning management for promoting the creativity thinking in educational production: Thailand Education 4.0. Journal of Research and Development Institute Rajabhat Maha Sarakham University, 5(2), 326-342. (in Thai).

Nawsuwan, K., Singhasem, P. & Naksrisang, W. (2017). Essential competencies of registered nurses for the care of the elderly in an aging society. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 27(1), 1-11. (in Thai).

Puengchompoo, P. & Panuthai, S. (2014). Developing of the learning and teaching with e-learning model for undergraduate nursing students in a gerontological nursing course. Nursing Journal, 41(5), 11-25. (in Thai).

Putson, C. & Pornsiriwacharasin, K. (2018). Solutions to the problem of an aging society in Thailand. Humanities and Social Sciences Research Promotion Network Journal, 1(1), 25-36. (in Thai).

Suwanjaroen, J., Sarakshetrin, A. & Malai, C. (2017). Teaching models to enhance the 21st century skills for Bachelor’s degree nursing students. Nursing Journal, 44(4), 177-188. (in Thai) .

Thammetar, T. (2014). e-Learning: from theory to practice. Bangkok: The Higher Education Commission. (in Thai).

Tongkeo, T. (2020). New normal based design in education: Impact of COVID-19. Journal of Teacher Professional Development, 1(2), 1-10. (in Thai).

Wadyim, N., Wangchom, S. & Mano, A. (2017). Teaching and learning management in nursing using electronic learning. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 33(3), 146-157. (in Thai).

Williamson, C. (2015). Policy mapping on ageing in Asia and the pacific analytical report. Chiang Mai: Help Age International East Asia/Pacific Regional Office.