การส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพชุมชน สู่ระบบสุขภาพอำเภอโดยใช้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายพยาบาล

Main Article Content

พนารัตน์ เจนจบ
วรรณภา ประทุมโทน

บทคัดย่อ

          การส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบสุขภาพอำเภอโดยใช้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายพยาบาล ประกอบด้วย 1) การพัฒนาศักยภาพพยาบาลให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วม โดยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การบริหารจัดการด้านการส่งเสริมสุขภาพ การพัฒนาภาคีเครือข่ายด้านการส่งเสริมสุขภาพ การวิจัยและการจัดการความรู้ และการนำผลการวิจัยมาประยุกต์ในการปฏิบัติ 2) การสนับสนุนแนวคิดการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพภายใต้บริบทของสถานประกอบการ  3) การวิเคราะห์ปัญหา ทุนชุมชน/สังคม 4) ส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย โดยมีการนำเสนอกลยุทธ์ในการส่งเสริมสุขภาพ 5 ประการ ดังนี้ 1) กำหนดนโยบายส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 2) พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 3) สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 4) เพิ่มบทบาทของชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และ 5) ใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและการสื่อสารทางสุขภาพ ซึ่งการดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในสถานประกอบการ ประกอบด้วย การเปิดโครงการ การคัดเลือกสถานประกอบการเป้าหมาย การวางแผนการทำงานร่วมกัน ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วม มีกระบวนการพัฒนาศักยภาพ กำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง  มีภาคีเครือข่ายหนุนเสริมเติมเต็มด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  สรุปสิ่งที่ได้ คือ การบริหารจัดการในการขับเคลื่อนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ผ่านมามีการปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งปัจจัยที่สำคัญ คือ การทำงานในรูปแบบการจัดการเชิงพื้นที่ต้องอิงกับบริบทของชุมชนในการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพร่วมกับชุมชน สร้างความยั่งยืนด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของทีม มีปฏิสัมพันธ์กับสหสาขาวิชาชีพ และแสดงบทบาททั้งในระดับแนวคิด และระดับวิชาการ กำหนดนโยบายสาธารณะตามทิศทางที่ชัดเจน ให้ข้อมูล ข่าวสารแก่สาธารณะ  มีทีมบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ นับว่าเป็นเรื่องสำคัญด้านการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic article)

References

1) Archanuphap, S., & et al. (2014). District health system (DHS). Retrieved (2020, March 29). from https://www.slideshare.net/AuampornJunthong/dhs-40127968.

2) Bouneaw, J. (2007). The Participatio in Research for Locally. Chiang Mai: Chiang Mai University. (in Thai).

3) Burke, T., & O' Neill, C. (2014). Community nurses working in piloted primary care teams: Irish Republic. British Journal Of Community Nursing, 15(8), 398-404.

4) Cacari-Stone, L., Wallerstein, N., Garcia, A. P., & Minkler, M. (2014). The promise of community-based participatory research for health equity: a conceptual model for bridging evidence with policy. American. Journal of Public Health, 104(9), 1615-1623.

5) Chamnaachang, S., Rattanagreethakul, S. & Junprasert S. (2019). Health promoting competencies and performances of nurses in primary care unit, the Eastern Region. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 25(2), 19-30. (in Thai) .

6) Chan M., (2007). Public health in the 21st century: optimism in the midst of precedence challenges. Retrieved (2020, March 29). from
http://www.who.int/dg/speeches/2007/030407/en?#

7) Chombhun, J. (2012). The public participation in the public participation handbook: making better decision through citizen involvement context in Thailand. Journal of Environmental Management, 8(1), 123-141. (in Thai).

8) Cordia, C. & et al., (2000). Health-promoting workplaces international settings development. Health Promotion International, Retrieved (2020, May 29)
fromhttps://doi.org/10.1093/heapro/15.2.155

9) Creighton, J. L. (2005). The public participation handbook: making better decisions through citizen Involvement. San Francisco: Jossey Bass.

10) Freudenberg, N., & Tsui, E. (2014). Evidence, power, and policy change in community-based participatory research. American Journal of Public Health, 104(1), 11-14.

11) Graves, B. A., Hamner, K., Nikles, S., & Wells, H. (2015). Use of community-based participatory research toward eliminating rural health disparities. Online Journal of Rural Nursing & Health Care, 15(2), 63-87. doi: 10.14574/ojrnhc.v15i2.353.

12) Kritarawitriwong N., & Chariya W. (2015). Implementing district health system based on primary health care. Journal of Nursing and Health Care, 33(3), 6-15. (in Thai).

13) Krugkraipeth N, Junprasert S, Rattanagreethakul S, Techasuksri T, Viriya C, Leucha T, Ritngam A, & Jareankankai J. (2017). Health promotion competencies among nurses, Eastern region, The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 25(3), 30-40. (in Thai).

14) O’Donnell, M. P. (2002). Health promotion in the workplace. USA: Delmar.

15) World Health Organization [WHO] (1986). The ottawa charter for health promotion. Retrived (2020, May 29) From https://www.who.int/healthpromotion/conferences/previous/ottawa/en%20first%20International%20Conference%20on,health%20movement%20around%20the%20world.