การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงในพื้นที่หมู่บ้านพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดนตามแนวทางพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

ศรีวรรณ ทาวงศ์มา
สิริภา ภาคนะภา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงและประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง เลือกพื้นที่แบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป บ้านเมืองน้อย อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 70 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นระยะเวลา 6 เดือน ระหว่างเดือนมกราคม–มิถุนายน พ.ศ. 2559 และได้รับกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่พัฒนาโดยผู้วิจัยพัฒนาจากสภาพปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง  แนวทางในการเสริมสร้างสมรรถภาพทั้งร่างกายและจิตใจ แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพของ Pender, Murdaugh and Parsons และปัจจัยของการมีสุขภาพดีในผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ย ความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มเดียวกัน ใช้ Paired Sample t-test


ผลการศึกษา ภายหลังกลุ่มตัวอย่างได้รับการส่งเสริมสุขภาพของชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง พบว่า


          1) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้หลังการทดลองใช้โปรแกรมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001


          2) คะแนนเฉลี่ยของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001


          ดังนั้น รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง ที่สร้างขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงในพื้นที่อื่นๆ ที่มีบริบทคล้ายกับกลุ่มตัวอย่างได้ 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1) Anothai, P. (2013). A report on the state of health and environmental health in the hill tribe Community of North 2013. Lampang: halth center of ethic groups, marginal people and migrant worker Department of Health Ministry of Public Health. Boromarajonnani College of Nursing, Uttaradit Journal, (Special), 17-31. (in Thai).

2) Bloom, B.S. (1971). Toxonomy of education objective. New York : David Mckay.

3) Department of Health. (2013). Bureau of health promotion. Nonthaburi: Health Promotion Department of Health.

4) Department of Health. (2013). The Thai elderly's health survey 2013. Bangkok: The Veterans Administration Publications. (in Thai).

5) Kardaudom, P. & Hamchayad, M,.(2011). Effects of an elderly health promotion program in Bangkaja sub-district Municipality, Amphur Muang, Chanthaburi. Phrapokklao Nursing College.Chanthaburi Province. (in Thai).

6) Linda, S. & Supanee, K. (2009). Status of elderly Health 1. Phitsanulok: Health Center 9 Phitsanulok.

7) Manorath, P., Kamfong, K., Waengnork, W., & Nitirat, P. (2016). Self-health care of the Buddhist elderly in suburban area: a case study Ban Na-Plong, Tambon Tha-Sao, Amphur Muang, Uttaradit Province. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal. 8(2), 96-111. (in Thai).

8) National Statistical Office. (2007). The elderly population survey in Thailand 2007. Bangkok: Department of Medical Services Ministry of Public Health. (in Thai).

9) Pender NJ, Murdaugh CL & Parsons MA. (2005) Health promotion in nursing practice. 5thed. New jersey: Prentice Hall.

10) Siriporn, S. (2007). Self-care behaviors and life satisfaction of the elderly in Bangkok Metropolis. Master's thesis Developmental psychology. (Master’s thesis). Bangkok: Graduate School. Srinakarinwirot University (in Thai).

11) Srinat, K. (2010). Effectiveness of a multifactorial fall prevention program in elderly patients receiving the elderly clinic. (Master’s thesis). Khonkaen University, Khon Kaen. (in Thai).

12) Sriwan, T. et al., (2014). Report on the situation of health and environmental health in the Karen hill tribe community in the area of the village development for border security in accordance with His Majesty the King. Health Center of Etnic groups, Marginal People and Migrant worker Department of Health Ministry of Public Health, Lampang. (in Thai).

13) Wanthanatas, R. (2017). The effectiveness of the program of network involvement in the older health care and the efficacy perception in three E two S for health behavior of the older in Nakhon Pathomprovince. Primary Health Care Division Journal. 12(1), 17-29. (in Thai).