การพัฒนาตัวชี้วัดอัตลักษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Main Article Content

สุปราณี หมื่นยา

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัด และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดอัตลักษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ จำนวน 465 คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น  ดำเนินการวิจัยโดยสร้างองค์ประกอบและตัวชี้วัดอัตลักษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล แล้วตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัด เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบวัดอัตลักษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 42 ข้อ ผ่านการหาความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยง มีค่าความเที่ยง .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง


          ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ที่ได้จากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย และประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 1 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ อัตลักษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และ 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ องค์ประกอบย่อยที่ 1 จิตบริการ ประกอบด้วย 18 ตัวชี้วัด องค์ประกอบย่อยที่ 2 การคิดเชิงวิเคราะห์ ประกอบด้วย 10 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบย่อยที่ 3 การมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ ประกอบด้วย 14 ตัวชี้วัด ซึ่งโมเดลองค์ประกอบและตัวชี้วัดอัตลักษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และมีความตรงเชิงโครงสร้าง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1) Bollen, K.A. (1989). Structural equations with latent variables. New York: John Wiley & Sons.

2) Kleiman, S. (2009). Human Centered Nursing: The Foundation of Quality Care. Philadelphia: F.A. Davis.

3) Nawsuwan, K., Wisalaporn, S. & Sattayarak, W. D. (2015). Indicators development of nursing students’s identity in nursing colleges, ministry of public health. Princess of Naradhiwas University Journal. 7(3), 59-73. (in Thai).

4) Powpong, S. (2011). The identity of nurses graduated from Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima. Nakhonratchasima: Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima. (in Thai).

5) Prachanban, P. (2016). Technique and apply structural equation modeling analysis for research and evaluation. Phitsanulok: AT Graphic Center. (in Thai).

6) Praboromarajchanok Institute. (2011). Operation Manual for achieve graduate identity of Praboromarajchanok Institute. Nonthaburi: Yuttarin Printing House. (in Thai).

7) Trumikborworn, S. (2007). Human resource development: humanized care, Journal of Nursing Division, 25(2), 61-64. (in Thai).

8) Udomluck, S., Vongchaiya, P., Tachawisad, S. & Sutjasakulrat, S. (2013). Humanized health care identity among graduates of Boromarajonani College of Nursing, Phayao. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 25(3), 14-26. (in Thai)