ผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการวางแผนจำหน่ายผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก ที่ใส่เครื่องดึงถ่วงน้ำหนักต่อเนื่องที่บ้าน โรงพยาบาลพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ใส่เครื่องดึงถ่วงน้ำหนักต่อเนื่องที่บ้าน เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการวางแผนจำหน่ายผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ใส่เครื่องดึงถ่วงน้ำหนักต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุภาวะกระดูกสะโพกหักที่รักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลพะเยา จำนวน 111 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 53 คน กลุ่มควบคุม 58 คน คำนวณขนาดตัวอย่าง โดยใช้ Two-sample comparison of proportion จากอัตราการติดของกระดูกใน 6 สัปดาห์ กลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติเดิมมีการติดของกระดูกร้อยละ 50 และคาดว่าเมื่อใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นมาจะมีการติดของกระดูกมากกว่าร้อยละ 74 กำหนด power 80 alpha .05 two side test ใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างอย่างน้อยกลุ่มละ 58 คน แต่กลุ่มทดลองมีเพียง 53 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบข้อมูล ด้วย exact probability test หรือ t-test ตามลักษณะของข้อมูล วิเคราะห์ผลการใช้แนวปฏิบัติด้วยสถิติ Multivariable logistic regression
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะข้อมูลทั่วไปของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันยกเว้นค่าดัชนีมวลกาย โรคประจำตัวถุงลมโป่งพองและโรคเก๊าท์ เมื่อเปรียบเทียบผลแล้วพบว่า กลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นใหม่ พบว่า ผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ใส่เครื่องดึงถ่วงน้ำหนักต่อเนื่องที่บ้านกลุ่มทดลอง การติดของกระดูกมากกว่ากลุ่มควบคุมร้อยละ 75.47 และ 53.5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = .013) จำนวนวันนอนเฉลี่ย กลุ่มทดลองน้อยกว่าอยู่ในช่วงระหว่าง 1-13 วัน และ 22-33 วัน ในกลุ่มควบคุม (p-value < .001) และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันมากกว่า 10 คะแนน ร้อยละ 64.15 ส่วนกลุ่มควบคุมไม่มีเลย (p-value <.001) และอัตราการเกิดแผลกดทับระดับสองขึ้นไปน้อยกว่าโดยพบเพียงร้อยละ 1.9 ในขณะที่ กลุ่มควบคุมพบร้อยละ 6. 9 (p-value = .004) เมื่อวิเคราะห์และปรับความแตกต่างของอายุ ดัชนีมวลกายและโรคประจำตัวถุงลมโป่งพองและโรคเก๊าท์ที่แตกต่างกันแล้วพบว่า การใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นใหม่เพิ่มการติดของกระดูก 4.18 เท่า 95% CI 1.47 -11.89, p-value .013 ระดับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย เพิ่มขึ้น 3.17 เท่า 95% CI 3.09 -4.24, p-value< .001 ลดการเกิดแผลกดทับ .15 เท่า 95% CI .51-.44, p-value= .004 และลดจำนวนวันนอน .04 เท่า 95%, CI .007-.033 , p-value <.001 ดังนั้นแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ใส่เครื่องดึงถ่วงน้ำหนักต่อเนื่องที่บ้านที่พัฒนาขึ้นใหม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มผู้ป่วยอื่นที่มีบริบทคล้ายกับกลุ่มตัวอย่างได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
Chainamuang, K. (2013). Development of discharge planning guideline for femur fracture in elderly with home skin traction, Kuchinarai Crown Hospital, Kalasin Provice (Master’s Thesis). Burapha University, Chonburi Province. (in Thai).
Committee of Public Health Region 1. (2018). Meeting minutes of the committee of public health region 1 No. 5/2018 on February 20, 2018. (in Thai).
Eamchunprathip, S., Tnaaarak, S. & Tepapal, T. (2017). Discharge planning for orthopedic patients. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 27 (Special issue), 9-18. (in Thai).
Kulsutthi, S., Wongsa, P. & Fukfon, K. (2017). Effects of discharge planning on quality of life and physical function among patients receiving total knee arthroplasty Surgery Chiangrai Prachanukroh Hospital. Nursing Pubic Health and Education Journal, 18 (3), 63-72. (in Thai).
National Statistical Office of Thailand. (2020). Statistics of the elderly in Thailand. Retrieved (2020, May 26). from http://www.dop.go.th/th/know/1/275. (in Thai).
Nillake, K., & Chantra, R. (2019). The Effects of discharge planning program for burn patients on Self-care ability and Quality of Life in Surgical 4 Department Suratthani Hospital. Regional 11 Medical Journal, 33 (2), 143-156. (in Thai).
Phayao Hospital. (2018). Electronic medical record system, EMR. Retrived (2018, January 1) from http://192.168.1.251/cmr/view/farm2.aspx. (in Thai).
Phayao Hospital. (2019). Discharge planning guideline for femur fracture in elderly with home skin traction Phayao Hospital. Phayao Hospital. (in Thai).
Phayao Provincial Statistical Office. (2020). Statistics of the elderly in Phayao Province. Retrieved (2020, May 26). from http://phayao.nso.go.th/. (in Thai).
Pinyopasakul, W., Sungkapong, T., & Kositamongkol, S. (2011). The development of discharge planning model via multidisciplinary collaboration for Stroke patients. Thai Journal of Nursing, 60 (3), 29-35. Retrieved (2020, April 16) from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/197521. (in Thai).
Ruanjaimun, J. (2016). Nursing processes and nursing records focus charting to their use. Chonburi: Sri SilpakanPhim. (in Thai).
Sawaengdee, K., Sathira-Angkura, T. & Sirinakhon, R. (1996). A guideline on discharge planning. Nonthaburi: Nursing Division Ministry of Public Health. (in Thai).
Suwankruehad, N., & Pan-uthai, S. (2018). Nursing of the elderly. 2nd printing Chiang Mai: Smart Coding and Service Co., Ltd. (in Thai).
Unnanan, A. (2014). Common fractures in the elderly. Emergency Management for the Elderly. Bangkok: Printmaking Limited Partnership. (in Thai).