การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

พิสิษฐ์ ดวงตา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้   1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียนผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม 4) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนผู้สูงอายุแบบมีส่วน กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ระยะที่ 1 ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 214 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม เป็นผู้สูงอายุและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเริมสุขภาพในโรงเรียนผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ระยะที่ 4 การทดลองใช้รูปแบบฯ โดยนำไปทดลองใช้ในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลวังทอง จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  1) แบบสอบถามข้อมูลปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ  2) แนวทางการสนทนากลุ่มเพื่อพัฒนารูปแบบฯ 3) แนวทางการสนทนาอิงกลุ่ม (Connoisseurship) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบ  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ paired t-test  ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


          ผลการศึกษา  แบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้  ระยะที่ 1 พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ขาดการออกกำลังกาย  มีความเครียดและภาวะซึมเศร้า  ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนผู้สูงอายุ 6 ด้าน คือ 1) การจัดกิจกรรมออกกำลังกาย 2) ด้านโภชนาการ 3) ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ 4) ด้านการจัดการความเครียด 5) ด้านความรับผิดชอบด้านสุขภาพ และ 6) ด้านการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ ระยะที่ 3  การประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนผู้สูงอายุมีความตรงประเด็น (Validity) ความเหมาะสม (Appropriateness) ความเป็นไปได้ในการดำเนินงานจริง (Practicality) ของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพมากกว่าร้อยละ 90 ทุกกิจกรรม  ระยะที่ 4 หลังการทดลองใช้รูปแบบฯ ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) = .48


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Aiumnirun, T. et al. (2006). The collection of thesis, Communicatio arts faculty. (2nd ed). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University. (in Thai).

Ashton, J. (2016). Managing health promotion: Developing healthy organizations and communities. Journal of Health and Social Behavior, 22(2016), 90 –102.

Butler, R. (2018). New model of health promotion and disease prevention for the 21st century. BMJ Journal,19 (2018), 149-150.

Choonharat, S. (2018). Situation of elderly. Iinstitute of research and development elderly Foundation. Bangkok: TQP company. (in Thai).

Hayes, A. (2017). Preliminary description of the feasibility of using peer leaders to encourage hypertension self-management. Wisconsin Medical Journal, 109(2), 85-90.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities, educational and psychological measurement. American Journal of Applied Psychology, 30(1970), 607-610.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). Situation of Population in Thailand. Bangkok: Author. (in Thai).

Pajoubmhor, V. (2019). The report of situation in elderly, Nonthaburi: SS Plus company. (in Thai).

Pakseresht, M. (2016). Awareness of chronic disease diagnosis amongst family members is associated with healthy dietary knowledge but not behavior amongst Inuit in Arctic Canada. Journal of Human Nutrition and Dietetics, 23(2016), 210-215.

Panyathorn, K. (2018). Healthcare behaviors of the elderly living alone in Ban Tad, Muang, Udon Thani. Nursing, Health, and Education Journal. 1(2), 33-38. (in Thai).

Pender, N.J . (2006). Health promotion in nursing practice. 5th (ed). New Jersey: Pearson Education, Inc.

Phitsanulok Provincial Public Health Office. (2019). The report of strategy plan in health promotion, Phitsanulok. (in Thai).

Siriphanich, B. (2018). Situation of elderly. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (in Thai).

World Health Organization. (2009). The Bangkok Charter for health promotion in a globalized world. Geneva, Switzerland: Participants at the 6th Global Conference on Health Promotion (2005), Bangkok.