พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะสุขภาพของแรงงานกรรมกรก่อสร้าง นอกภาคฤดูเกษตรกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ภาวะสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของแรงงานกรรมกรก่อสร้างนอกภาคฤดูเกษตรกรรม ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ในการวิจัยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะสุขภาพที่ผู้วิจัยพัฒนาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องตามแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ 3 อ. 2 ส. วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา หาความสัมพันธ์ด้วยไค-สแคว์ ผลการวิจัย พบว่า แรงงานอายุ 18-68 ปี เพศชาย ร้อยละ 57.80 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 66.70 สูบบุหรี่ ร้อยละ 30.00 ดื่มสุรา ร้อยละ 13.30 ดื่มกาแฟ ร้อยละ 43.30 ดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ร้อยละ 47.80 ออกกำลังกาย ร้อยละ 3.30 ตรวจสุขภาพประจำปี ร้อยละ 77.77 สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการทำงาน ร้อยละ 96.70 เจ็บป่วยขอยาจากเพื่อนร้อยละ 35.60 ซื้อยาจากร้านขายยา ร้อยละ 42.72 ผ่อนคลายความเครียดด้วยการดูทีวี ร้อยละ 76.54 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 8.90 โรคที่พบมากที่สุด ได้แก่ โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานร้อยละ 7.77 มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และปวดหลังทุกวัน ร้อยละ 57.80 ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 31.11 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพ พบว่า 1) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การดื่มกาแฟ การดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อย การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยรุนแรง การผ่อนคลายความเครียด มีความสัมพันธ์กับการมีโรคประจำตัวของแรงงาน 2) การออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียดมีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน 3) การออกกำลังกาย และการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมีความสัมพันธ์กับอาการปวดเมื่อยตามตัว 4) การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการทำงานมีความสัมพันธ์กับอาการระคายเคืองผิวหนังและแสบตาจากฝุ่นละอองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยของแรงงานกรรมกรก่อสร้างนอกภาคฤดูเกษตรกรรม
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
Butmee, T., Kiatkitroj, K. & Aungudornpukdee, P. (2014). Health status and health risk of working conditions among the agricultural informal workers in Phitsanulok Province. Journal of Safety and Health, 7(26), 17-26. (in Thai).
Chaithawanwong, T. & Kalayasiri, R. (2013). Alcohol drinking of construction workers in Bangkok Metropolis. The Journal of The Psychiatric Association of Thailand, 58(4), 345-358. (in Thai).
Health Department Bangkok. (2009). Bangkok promoting the health of the workers to provide continuous care. Retrieved (2015, September 8). from https://www.ryt9.com/s/prg/643892 (in Thai).
Jarukkhamool, S. & Chaiklieng, S. (2014). Perception of occupational health hazards and injuries among construction workers: A case study of residential construction company. KKU Research Journal, 19(5), 683-695. (in Thai).
Karoonngamphan, M., Suvaree, S. & Numfone, N. (2012). Health behaviors and health status of workers: a case study of workplaces in Sathorn district, Bangkok metropolitan. Journal of Songkhla Nakarin Nursing, 32(3), 51-66. (in Thai).
National Statistical Office. ( 2009). Exercise behavior of Thailand. Retrieved (2015, June 10). from http://www.gearmag.info/record_aug03.php. (in Thai).
National Statistical Office. (2017). Health status of Thai labor. Bangkok: National Statistical Office. (in Thai).
National Statistical Office. (2020). Health status of Thai labor. Bangkok: National Statistical Office. (in Thai).
Penboon, B. (2016). Alcohol consumption behavior and effects of alcohol consumption of migrant workers at Talad Tai Khlongluang district, Pathumthani province, Thailand. Journal of Social Work, 24(1), 135-152. (in Thai).
Phiphatjarukitti, S. (2019). Drinking coffee and effects on health. Risk Response for Health Literacy Center. (in Thai).
Sangwatanaroj S. (2017). Service model for diabetes prevention and control hypertension. Nonthaburee: Bureau of non-communication disease, Department of Disease control Ministry of Public Health. (in Thai).
Schopp L, Bike D, Clark M & Minor M. (2015). Act healthy: promoting health behaviors and self-efficacy in the workplace. Health Education Research, 30(4), 542-553.
Setthetham, D., Nathapindhu, G., Ishida, W. & Patte, T. (2013).Risk behavior and factors affecting to health in rice farmers. KKU Journal for Public Health Research, 6(2), 4-12. (in Thai).
Sonprom, B. (2012). Attitude of construction workers on accidents in construction industry: a case study of SWT. Technology & Construction CO., LTD. (Master’s thesis). Nakhon Ratchasima: Suranaree University of Technology. (in Thai).
Sukamolson, S., Sriviriyanuparp, W. & Kulsomboon, V. (2016). Priority, prevalence and geographic distribution of unsafe products in Thailand. Journal of Health Systems Research, 10(1), 65-79. (in Thai).
Taejarenwiriyakul, O., Joysueray, T., Watsrithanung, S. & Sommatas, A. (2020). Health status, health behaviors and the health promotion needs of the workers in Pho Thaen sub district, Nakhon Nayok Province. Journal of Nursing and Health Care, 38(2). 83-91. (in Thai).
Yaruang, N. & Sukonthasarn, P. (2016). Occupational safety behaviors and health status among rice farmers in Chiang Rai province. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 17(2), 163-174. (in Thai).