การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้ชุดสถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับ กระบวนการสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมทักษะการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤต สำหรับนักศึกษาพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้ชุดสถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับกระบวนการสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมทักษะการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤตสำหรับนักศึกษาพยาบาล และ 2) เพื่อทดสอบประสิทธิผลของระบบการเรียนการสอนโดยใช้ชุดสถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับกระบวนการสะท้อนคิด กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ จำนวน 53 คน เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ระบบการเรียนการสอนโดยใช้ชุดสถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับกระบวนการสะท้อนคิด คู่มือระบบ แบบสอบถาม และประเด็นคำถามในการสัมภาษณ์ แบบประเมินทักษะการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเปรียบเทียบ (t-test) เพื่อดูประสิทธิผลของระบบการเรียนการสอน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ระบบการจัดการเรียนการสอน
ผลการวิจัยพบองค์ประกอบระบบการเรียนการสอนโดยใช้ชุดสถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับกระบวนการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤตสำหรับนักศึกษาพยาบาล ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1) กระบวนการนำเข้า (Input) ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน 2 ) กระบวนการ (Process) ที่เป็นระบบและกิจกรรมการเรียนการสอน และ 3) ผลผลิต (Outcome) ที่เป็นผลการเรียนรู้ของการจัดการเรียนการสอน หลังจากผู้วิจัยทำการทดสอบระบบการเรียนการสอนพบว่า หลังสิ้นสุดการทดลองผู้เรียนมีทักษะการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดสถานการณ์เสมือนจริง ผ่านกระบวนการสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมทักษะการตัดสินใจในการดูแล
ผู้ป่วยภาวะวิกฤต สำหรับนักศึกษาพยาบาล ในด้านของวิธีการและกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานการณ์เสมือนจริง ผ่านกระบวนการสะท้อนคิด มีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ที่ระดับมาก ( X =4.48, SD =.51)
ผลการวิจัยนี้แสดงถึงประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้สถานการณ์เสมือนจริงต่อการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจและการปฏิบัติการพยาบาล ทั้งนี้การออกแบบระบบ การเตรียมเครื่องมือและความพร้อมของผู้สอนเป็นสิ่งที่จำเป็น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
Brahmawong, C. (2013). Developmental testing of media and instructional package. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), 7-19. (in Thai).
Cheuaiam, S., Triudomsri, S., & Chaiyawut, P. (2019). Effects of practical teaching with reflection on clinical skilled nursing for principles and techniques in nursing. Journal of Health Research and Innovation, 2(1), 143-152. (in Thai).
Dick, W., Carey, L., & Carey, James O. (2015). Systematic design of instruction. (8th ed.). Florida, Pearson. Library of Congress Cataloging-in- Publication Data.
Hoffman, K. (2007). A comparison of decision-making by expert and novice in clinical setting. (PhD thesis). University of Technology. Sydney.
Janpilom, N., Sengsri, S., & Kongmanus, K. (2018). Attitudes of nursing instructors and students towards simulation based learning in the subject of nursing practice. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 10(2), 222-233. (in Thai).
Jiranuwat Chansungnoen. (2021). Simulation based learning: nursing education. Journal of Southern Technology, 14(1), 145-150. (in Thai).
Kanhadilok, S., Punsumreang, T. & Phukpun, S. (2018). The integrated clinical teaching methods on reflective thinking and clinical judgment in 3rd year nursing students in maternal infant and midwife nursing practicum course I . HCU Journal of Health Science, 14(1), 145-150. (in Thai).
Limthongkul, M., & Arreeaiu, S., (2010). Stress source Coping methods and Coping results of nursing students in the first practical training. Ramathibodi Nursing Journal, 15(2), 192-205. (in Thai).
Office of the Education Council. (2017). National education plan 2017-2036. Bangkok: Privang graphic Co., Ltd., company. (in Thai).
Pamela, R. Jeffries. (2012). Simulation in nursing education. (2sd ed.). New York: The national League for nursing.
Phormpayak, D., Sattayawong, W., Rattana-Umpa, J., Hamtanon, P., & Rungkavat, V. (2019). The effects of using simulation based learning and reflective thinking skill promoting on nursing students’ reflective thinking behaviorand clinical decision-making abilities. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima, 25(2), 57-71. (in Thai).
Pressey, S. L., Robinson, F. P., & Horrocks, J. E. (1959). Psychology in education. (3rd ed.). New York: Harper.
Sinsawad, P. (2019). Effects of learning through reflective practices on reflective behaviors of nursing students. Journal of Nursing, Siam University, 20(39), 88-98. (in Thai).
Sinthuchai, S., & Ubolwan, K. (2017). Fidelity simulation based learning: implementation to learning and teaching management. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 18(1), 29-38. (in Thai).
Tanaroj, S. (2017). Simulation-based learning in principles and techniques course in nursing practicum. Boromarajonani College of Nursing Uttaradit Journal, 9(2), 70- 84. (in Thai).
Walter, D., Lou, C., & James O. Carey. (2015). Systematic design of instruction. (8th ed.). Florida: The Pearson eText.
Wisawatapnimit, P., Suttineam, U., and Teerawatskul, S. (2020). Effects of simulation-based learning for nursing practicum preparedness for patients with shock on students’ satisfaction, self-confidence in learning, and clinical judgment of nursing students. Journal of Health Science Research, 14(3), 59-70. (in Thai).