ผลของการเรียนรู้ด้วยสื่อบทเรียนออนไลน์ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมป้องกัน การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลองชนิดศึกษาสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้ด้วยสื่อบทเรียนออนไลน์ต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้ เจตคติ ทักษะชีวิต และพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน จังหวัดกำแพงเพชร แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 42 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยกลุ่มทดลองได้รับการเรียนรู้ด้วยสื่อบทเรียนออนไลน์ด้วยตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมดำเนินการตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนการทดลองและหลังสิ้นสุดการทดลอง 3 เดือน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อบทเรียนออนไลน์ และ 2) แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงตามเกณฑ์มาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ Mann-Whitney u test และ Wilcoxon Signed Rang test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ เจตคติต่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ทักษะชีวิตในการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์หลังการเรียนรู้ด้วยสื่อบทเรียนออนไลน์สูงกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
Bernard, R. (2000). Fundamentals of biostatistics (5th ed.). Duxbery: Thomson learning.
Bureau of reproductive health, Department of health, Ministry of public health. (2017).
Bureau of reproductive health, Department of health, Ministry of public health. (2018).
Jitjong, J. (2018). Situation conclusive 2018 “teen” of Regional health board 3. Retrieve (2019, June10). from http://mhc03.go.th/file/groumwai/61/teens61.pdf. (in Thai).
Kanokthavorntham, A. & Lalognum, N. (2017). The development of computer-based instruction by using the gagne’s nine events of instruction on sexual education for mathayomsuksa 2 students. Journal of Education Naresuan University, 21(4), 329-341. (in Thai).
Kirdin, S., Vuthiarpa, S., & Bunthumporn, N. (2019). Effects of life skill program on knowledge and life skills to prevent sexual assault in female secondary school student. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health, 33(1), 128-144. (in Thai).
Kruachottikul, S., & Paiboon, S. (2014). Quality of unintended teenage pregnant women: midwifery roles. Kuakarun Journal of Nursing, 21(2), 18-27. (in Thai).
Kulpuang, J., Chauvatcharin, N., & Sirisawatlnthong, C. (2016). A study of biology learning achievement and attitude towards 5ES - Learning Cycle with active learning activities of 12th grade students. Journal of Education Naresuan University, 18(3), 265-275. (in Thai).
Pradubwate, R. (2017). Technology learning management guidelines by using Bloom's taxonomy. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 1051-1065. (in Thai).
Ruangkanchanasetr, S. (2016). Epidemiology of mortality and morbidity of Thai teenagers. In Rosawan, A., In-iw, S., Manaboriboon, B., Hongsanguansri, S., & Jaruratanasirikul, S. (Eds.), Textbook of adolescent medicine. (pp. 28-30). Nonthaburi: Parbpim Ltd. (in Thai).
Srifa, P. (2008). E-book talking books. Bangkok: Than Books. (in Thai).
Tavakol, M., & Dennick, R. (2011). Making Sense of cronbach’s alpha. International Journal of Medical Education, 2, 53-55.