ประสบการณ์ชีวิตของสตรีที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมภายหลังได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายและอธิบายถึงประสบการณ์ชีวิตของสตรีที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมภายหลังได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นสตรีที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมที่เคยได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดครบตามแผนการรักษาของแพทย์ จำนวน 20 ราย การศึกษาครั้งนี้เก็บข้อมูลในจังหวัดอุตรดิตถ์โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงปรากฏการณ์วิทยาของโคไลซ์ซี่ ผลการศึกษาพบว่าประสบการณ์ชีวิตของสตรีที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมภายหลังได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดประกอบด้วย 1) การแสวงหาข้อมูลเพื่อตัดสินใจ2)การได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพ3)ความทุกข์ทรมานด้านร่างกาย คือ หน้ามืด มึนเวียนศีรษะอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียนปวดกระดูก ปวดตามข้อปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะเป็นสีแดง เล็บมือ-เล็บเท้ามีสีดำผมร่วงและน้ำหนักลด 4)ความทุกข์ทรมานด้านจิตใจ คือความกลัว ท้อแท้ สิ้นหวัง เสียใจและน้อยใจ5)การดูแลตนเองขณะรับเคมีบำบัด6)การปรับเปลี่ยนมุมมองและวิธีคิดเพื่อสร้างกำลังใจให้กับตนเองและ 7)การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
2) Evan,S. & Savage, P.(2008).Practical issues in cytotoxic chemotherapy usage. In Louise Hanna, Tom Crosby and Fergus Macbeth.(eds).Practical Clinical Oncoloy.New York: Cambridge University press.
3) Hoskins,C.N. & Haber,J.(2000).Adjusting to breast cancer.Journal of Advanced Nursing,100(4),26-32.
4) Kuuppelomaki,M.&Lauri,S(1998). Cancer patients’reported experiences of suffering.Cancer Nursing,21(5),364-349.
5) Liamputtong, P. (2013). Qualitative Research Methods (Vol. 1). (V. Somerset,Ed.) Sydney, Sydney, Australian: Markono print Media Pte Ltd,Singapore.
6) Ministry of Public Health.(2016). Report annual 2016. Ministry ofPublic HealthBangkok:Veterans Prints.Journal of nursing and health sciences,6(2),63-73.
7) National cancer institute department of medical services ministry of public health Thailand.(2016).Hospital-based Cancer Registry.Bangkok:Information Technology Division National Cancer Institute. (in Thai)
8) Potisita, S.(2016).Science and artqualitative research.Bangkok:MahidolUniversity. (in Thai).
9) Tantalanukl, S., Isarangura Na Ayudhaya, P.&Fongkerd, S.(2017).Self-care to enhance quality of life in Patient with chronic obstructive pulmonary disease.Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal,9(2),140-151. (in Thai).
10) Udomkitpipat, J., Sopa, N.&Pisaphap, R.(2017).Coping process of early – adulthood women in the advance stage of cervicalCancer.Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal,9(2),85-95. (in Thai).
11) Wannapornsiri, J.(2013).Suffering and management on suffering of women with breast cancer receiving chemotherapy. Journal of nursing and health sciences,6(2),63-73. (in Thai).
12) WHO study Group on preventive of breast cancer.(2016).Preventive of breast cancer.Geneva: World Health Organization.