วิจัยประเมินแบบเสริมพลัง: โครงการอาหารของแม่เพื่อส่งเสริมโภชนาการของครอบครัวและชุมชน จังหวัดสงขลา

Main Article Content

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์
มาริสา สุวรรณราช
เกษศิรินทร์ ภู่เพชร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการอาหารของแม่เพื่อส่งเสริมโภชนาการของครอบครัวและชุมชน จังหวัดสงขลา แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 กำหนดกรอบแนวทางประเมินเสริมพลัง โดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินเสริมพลังของ Fetterman (2001) ขั้นที่ 2 ดำเนินการประเมินแบบเสริมพลัง ขั้นที่ 3 การประเมินผลหลังปฏิบัติการ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 85 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาลตำบล 10 คน ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 10 คน ผู้อำนวยกองการศึกษา 10 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน 15 คน ครูพี่เลี้ยงศูนย์เด็กเล็ก 10 คน พยาบาลประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/พยาบาลคลินิกเวชปฏิบัติ 10 คน นักโภชนาการ 5 คน และแม่ตัวอย่าง 15 คน โดยใช้การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมสมอง การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แนวทางการประเมินแบบเสริมพลัง ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


             ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการ ฯ บรรลุ คือ 1 ด้านบริบท พบว่าโครงการฯ มีความจำเป็นและสอดคล้องกับสภาพปัญหาของชุมชน 2 ปัจจัยนำเข้า พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลมีแผนชุมชนด้านอาหารและโภชนาการ มีทุนทางสังคมที่เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนา 3 ปัจจัยด้านกระบวนการ พบว่ามีการบริหารแผนโดยใช้การมีส่วนร่วม 4 ผลที่เกิดขึ้น


4.1) ผลผลิต เกิดรูปธรรมความสำเร็จของ6การดำเนินงานแต่ละองค์กรที่เป็นเครือข่ายย่อย คือ เกิดแม่ตัวอย่างตามแนวทางอาหารของแม่แต่ละตำบล เกิดการทำงานแบบบูรณาการ


4.2) ผลลัพธ์ เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการกินของครอบครัว เกิดเครือข่ายการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการอย่างเป็นระบบมากขึ้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนในชุมชน เป็นแหล่งผลิตอาหารสะอาด ปลอดภัย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรู้สึกอิสระในการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาภาวะ โภชนาการ


4.3) ผลกระทบ เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายทั้งระดับตำบลและระดับจังหวัด โดยบรรจุประเด็นอาหารและโภชนาการเข้าในแผนพัฒนา โครงการอาหารของแม่เพื่อส่งเสริมโภชนาการของครอบครัวและชุมชนประสบความสำเร็จในการใช้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน การใช้แนวทางการเสริมพลังอำนาจและทีมนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาช่วยหนุนเสริม ดังนั้นจึงสามารถเป็นแนวทางเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการในครอบครัวและชุมชนที่ยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Aekplakorn, W. (2017). Thai national health examination survey, NHES V. Nonthaburi: Health System Research Institute, Thailand. (in Thai)

Ampansirirat, A & Suwanraj, M. (2016). Promotion of family and community nutrition using the mother's food guideline. Songkhla: Boromarajonani College of Nursing, Songkhla. (in Thai)

Aramrom, Y., & Jantaweemuang, V. (2019). Development of a new food and nutritional management model for preschool children, using the Thai “Mother’s food guideline” in Songkhla province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 6(2), 199-213. (in Thai)

Chantavanich, S. (2010). Qualitative research. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Chukumnird, S., Pruksasri, W., Sangsawang, J., Puijarone, S., Rongsawat, O., & Pruksasri, S. (2017). Development of food and nutritional management model using mother’s food guideline, Phawong sub-district: a participatory action research. Journal of Nursing and Health Care, 35(4), 214-223. (in Thai)

Damapong, S. (2013). Community nutrition of Thailand in future. In the 7 th food security and nutrition in Asean context, 109, October 7-9. Bangkok International Trade & Exhibition Centre: BITEC. (in Thai)

Fetterman, D. M. (2001). Foundation of empowerment evaluation. California: Sage.

Fetterman, D.M., & Jose, S. (2015). Empowerment evaluation. Internation Encyclopedia of the Social & Behavioral Sciences, 2nd edition, (7), 577-583.

Ishikawa, M., Kusama, K., & Shikanai, S. (2015). Food and nutritional improvement action of communities in Japan: Lessons for the World. Journal of Nutritional Science and Vitaminology (Tokyo), 61 Suppl, 55-57. doi: 10.3177/jnsv.61.S55.

Junsong, S., Dockthaisong, B., Banchirdrit, S., & Srirueng, B. (2016). The development of social capital to build up a strong community. Journal of Humanities and Social Science Mahasarakham University, 35(2), 249-259. (in Thai)

Kumkong, M., Suwanraj, M., & Saetiew, S. (2018). Food and nutrition management model for older adults using the Mother's Food Guideline: A case study of the elderly club, Boromarajonani College of Nursing, Songkhla. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(3), 53-68. (in Thai)

Kungwon, C., & Jaruchainiwat, P. T. (2015). Parents’ role in Promoting Eating Behaviors of Preschoolers in Anuban Petchaburi School, An Online Journal of Education, 10(2), 87-97. (in Thai)

Martin-Biggers, J., Spaccarotella, K., Berhaupt-Glickstein, A., Hongu, N., Worobey, J., & Byrd-Bredbenner, C. (2014). Come and get it! A discussion of family mealtime literature and factors affecting obesity risk. Advances in Nutrition, 14(5), 235-247.

Mosuwan, L. (2013). Reports of consumer behavior, nutritional status and health behavior of children 6 months-14 years, Songkhla province. Retrieved (2020, January 28) from: https://consumersouth.org/files/3759 (in Thai)

Nondasuta, A. (2013). Nutrition in health promotion. in the 7 th food security and nutrition in Asean context, 109, October 7-9. Bangkok International Trade & Exhibition Centre: BITEC. (in Thai)

Sangsawang, J., Chukumnird, S., Chupradit, P., Binthaprasitthi, S., & Wattanasart, T. (2017). Development of food and nutritional management model for preschool children based on Mother's Food Guildeline: A participatory action research. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 33(2), 146-158. (in Thai)

Singsara, S. (2014). Nutritional problem solving by local administration organization, Muang Kae municipal district, Tha Tum District, Surin province. in the 8 th Nutrition for Health Promotion, 109, October 7-9. Bangkok International Trade & Exhibition Centre: BITEC. (in Thai).

Sriwirat S. (2016). Care for pregnant women with iron deficiency anemia. 12th Region Medical Journal, 26(1), 96-102.

Sutheravut, P. (2014). Monitoring, supporting and evaluating community health development project. Retrieved (2020, January 28) from http://happynetwork.org/upload/forum/manual_Evaluation.pdf (in Thai).

Tantaveevong, A. (2013). The Food management guideline for all Thai People. Bangkok, War Veterans Organization of Thailand.

Vazir, S., Boindala, S. (2016). Nutrition, brain development and cognition in infants, young children and elderly. Proceeding of the Indian Nation Science Academy, 82(5), 1495-1506.

World Health Organization (WHO). (1986). Ottawa charter for health promotion document for WHO Publication.

World Health Organization Regional Office for Europe. (2000). Healthy nutrition: the role of woman: Report on a WHO Meeting. Denmark: WHO Regional Office for Europe