ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแพร่

Main Article Content

รัชนิตา เขียนโพธิ์
ลัดดาวัลย์ แดงเถิน

บทคัดย่อ

          วัฒนธรรมความปลอดภัยมีความสำคัญต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยทุกวัย และการบรรลุเป้าหมายของการเป็นโรงพยาบาลคุณภาพ ซึ่งมุ่งเน้นให้การจัดบริการสุขภาพมีประสิทธิภาพและปลอดภัยแก่ผู้ป่วย งานวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแพร่ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลแพร่ และมีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 146 คน แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย 3) วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแพร่ แบบสอบถามได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยการหาค่า IOC และหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ค่าความเที่ยงโดยรวมของแบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยมีค่าเท่ากับ .92 แบบสอบถามวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยมีค่าความเที่ยงโดยรวม เท่ากับ .95 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


          ผลการวิจัย พบว่า 1) พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแพร่ รับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.05, SD = .43) 2) ปัจจัยด้านงาน ด้านเทคโนโลยีและเครื่องมือ ด้านองค์การ และด้านสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแพร่ คิดเป็นร้อยละ 66.8 (R2 = .668, p < .05) โดยปัจจัยด้านงานสามารถอธิบายความแปรปรวนของการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยได้มากที่สุด ร้อยละ 45.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


          ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมบรรยากาศของการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมความปลอดภัย รวมทั้งสนับสนุนทรัพยากรในการปฏิบัติงานเพื่อความสำเร็จในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยในองค์การอย่างต่อเนื่อง


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Alquwez, N., Cruz, J. P., Almoghairi, A. M., Al-Otaibi, R. S., Almutairi, K. O., Alicante, J. G. & Colet, P. C. (2018). Nurses’ perceptions of patient safety culture in three hospitals in Saudi Arabia. Journal of Nursing Scholarship, 50(4), 422-341.

Chuaytawee, J. & Songthai, N. (2017). Factors influencing nurses’ perceptions on patient safety culture in the community hospitals, Phitsanulok province. Journal of Nursing and Health Sciences, 11(3), 42-51. (in Thai).

Elsous, A., Akbari, S. A., AlJeesh, Y. & Radwan, M. (2017). Nursing perceptions of patient safety climate in the Gaza strip, palestine. International Council of Nurses, 64(3), 446-454.

Dirik, H. F. & Intepeler, S. S. (2017). The work environment and empowerment as predictors of patient safety culture in Turkey. Journal of Nursing Management, 25, 256-265.

Ginsburg, R.L., Tregunno, D., Fleming, M., Flemons, W., Gilin, D., & Norton, P. (2007). Perceptions of patient safety culture in six Canadian health care organizations. Patient Safety Culture Research, 1-35.

Jirapaet, V. & Jirapaet, K. (2012). Patient safety management: concepts, processes and guidelines for clinical safety. Bangkok: Darnsutha Print. (in Thai).

Nansupawat, R., Janmahasathien, S., Phumvitchuvate, L., Charuwatcharapaniskul, U., Chareonsanti, J., Keitlertnapha, P. & Sunthorn, V. (2011). Patient safety culture and nursing outcome among professional nurses in northern regional hospitals. Nursing Journal, 38(4), 1-14. (in Thai).

Reason, J. T. (1997). Managing the risk of organizational accidents. Aldershot: Ashgate Publishing Ltd.

Reason, J. T. (2016). Organizational accident revisited. Boca Raton: CRC Press.

Reiman, T., Pietikainen, E. & Oedewald, P. (2010). Multilayered approach to patient safety culture. BMJ Journal, 19(5), 1-5.

Saleh, A. M., Muhammad, W. D. & Hussami, M. A. (2015). The perception of hospital safety culture and selected outcomes among nurses: An exploratory study. Nursing and Health Sciences, 17, 339-346.

Saelim, P. (2016). A Comparison between Service Quality of Private Hospital and Service Quality of Government Hospital in Muang SuratThani District, Surat Thani Province. Region 11 Medical Journal, 30(2), 47-57. (in Thai).

Service Quality and Standard Development Group, Phrae Hospital. (2018). Self-report assessment according to standards, Phrae Hospital. Retrieved (2018, April 6) from http://www.phraehospital.go.th/webinternal/ha_center/index.php. (in Thai).

Sungkhang, I. (2018). Problems or Opportunities: From information reflected back to the development of Safe service (2P Safety Goals). Retrieved (2018, June 12) from https://www.hfocus.org/content/2017/11/14858. (in Thai).

Supachutikul, A. (2013). HA Update 2013. Nonthaburi: The healthcare accreditation institute (Public Organization). (in Thai).

Wilson, D. S. (2012). Registered nurses’ collective Safety organizing behaviors: the association with perceptions of patient safety culture. Journal of Research in Nursing, 18(4), 320-333.

World Health Organization. (2019). Patient safety: Data and statistics. Retrieved (2019, May 27). From http://www.euro.who.int/en/health-topics/Health-systems/patient-safety/data-and-statistics.