ผลของการใช้โปรแกรมวางแผนการจำหน่ายตามแนวคิด M-E-T-H-O-D ต่อความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลัง (One group pretest-posttest design) เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมวางแผนการจำหน่ายตามแนวคิด M-E-T-H-O-D ต่อความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รับไว้รักษาในสถาบันประสาทวิทยา จำนวน 30 คน เครื่องมือ ประกอบด้วย 1) โปรแกรมวางแผนการจำหน่ายตามแนวคิด M-E-T-H-O-D 2) แบบประเมินความสามารถตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นมาตราส่วนให้ค่า 5 ระดับ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ dependent t–test
ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถโดยภาพรวมของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังใช้โปรแกรมวางแผนการจำหน่ายตามแนวคิด M-E-T-H-O-D สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ค่าเฉลี่ยความสามารถโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, SD = .47) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้าน คือ ด้านการใช้ยาของผู้ป่วย (M) ( X = 4.83 , SD = .33 ) ด้านการจัดสภาพสิ่งแวดล้อม/การจัดการปัญหาด้านเศรษฐกิจ (E) ( X = 4.70, SD=.61) ด้านการปฏิบัติตัวตามแผนการดูแลสุขภาพ (T) ( = 4.62, SD=.62) ด้านการมาตรวจตามนัด/ระบบส่งต่อ (O) ( X = 4.61, SD=.74) ด้านการดูแลอาหาร/ป้องกันการขาดสารอาหาร (D) ( = 4.76, SD=.89) และในระดับมาก คือด้านการดูแลสภาวะสุขภาพ (H) ( X = 4.48, SD=.46) ผลการวิจัยควรนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
Bureau of Non Commenicable Diseases. Department of Disease Control, Ministry of PublicHealth. (2016). Annual report 2016. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand Under Royal Patronage of His majesty the King Printing. (in Thai).
Department of Disease Control. (2019). World stroke day 29 Oct 2019: cerebrovascular disease reduce the risk of stroke. Retrieved (2019, June 29) form https://ddc.moph.go.th/dir/news. php?news
Ganapathy. V., et al. (2015). Caregiver burden, productivity loss, and indirect costs associated with caring for patients with poststroke spasticity. Clinical Interventions in Aging, 6(10),1793-1802.
Godwin, K.M., et al. (2013). Long-term health-related quality of life of stroke survivors and their spousal caregivers. Journal of Neuroscience Nursing, 45(3), 147-154.
Jakping, J. (2009). Effects of using a discharge planning program for stroke patients on length
of hospital stays and caring ability of stroke patients, caregivers, Nan Hospital. (Master’s thesis), Faculty of Nursing, Chulalongkorn University. (in Thai).
Kusoom, V., et al. (2011). Nursing process and nursing diagnosis : Application to clinical Practice. 2nd ed. Bangkok: Bophit printing. (in Thai).
Limpastan, K. (2010). Cerebrovascular disease. Chiang Mai: Trio Advertising & Company Media Co., Ltd. (in Thai).
Mistiaen, P., Francke, A. & Poot, E. (2007). Interventions aimed at reducing problems in adult
patients discharged from hospital to home: A systematic meta-review. BMC Health Services Research, 7, 47.
Nursing Division, Ministry of Public Health. (1996). Patient discharge planning approach. Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai).
Orem, D. E. (2001). Nursing: Concepts of practice. 6th ed. St. Louis, MO: Mosby.
Phinyo, P. et al. (2015). Care Improvement for patients with stroke through community participation. Songklanagarind Journal of Nursing. 35(2), 93-112. (in Thai).
Prasat Neurological Institute. (2015). Clinical nursing practice guidelines for stroke. Bangkok: Thanaporn Company Limited. (in Thai).
Sahametapat, N. (2014). Thailand has entered the "elderly society" full of 68 years, with more than 1 million people sleeping in bed. Retrieved (2020, April 9) from. http://www.thairath. co.th/content/edu/410946.
Strategy and Planning Division office of the Permanent Secretary. (2019). Public health statistics A.D. 2019. Nonthaburi: Strategy and Planning Division office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health.