การศึกษาลักษณะความปวดในผู้ป่วยกระดูกขาส่วนล่างหักโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน จังหวัดตาก

Main Article Content

ศรีสุดา งามขำ
อัญชลี เกษสาคร
Anne Soderlund

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความปวด ปัจจัยที่เพิ่มหรือลด   ความปวดและการรักษาความปวดในผู้ป่วยกระดูกขาส่วนล่างหัก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีกระดูกขาส่วนล่างหัก 17 คน  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลความปวดที่ดัดแปลงจากแมคกิลล์เพน ฉบับย่อภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา และ Friedman’s test ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีสาเหตุจากอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซด์ การหักของกระดูกเป็นแบบปิด  ตำแหน่งความปวดที่หน้าแข้งที่เดียว ในวันแรกผู้ป่วยมีระดับความปวดรุนแรงและรูปแบบของความปวดเป็นความปวดแบบต่อเนื่อง หลังผ่าตัด 2 วันแรกผู้ป่วยมีอาการปวดในระดับเล็กน้อยและรูปแบบของความปวดเป็นแบบนาน ๆ ที ส่วนใหญ่เป็นลักษณะปวดแบบปวดตุ๊บๆ ปวดจี๊ด ปวดเหมือนถูกแทง ปวดแสบปวดร้อน ปวดตื้อๆ ปวดหนักๆ   กดเจ็บ รู้สึกเหนื่อยล้า รู้สึกไม่สบาย รู้สึกหวาดกลัวความเจ็บปวดและเป็นความทรมาน ปัจจัยที่กระตุ้นให้ปวด  มากขึ้น คือ การเคลื่อนไหว และการเดิน  ปัจจัยที่ทำให้ความปวดลดลง คือ  การอยู่นิ่งๆ และการได้รับยาบรรเทาอาการปวด ได้แก่ ยามอร์ฟิน เพทธิดีน ไดโคฟีแนค และไดอะซิแพม ระดับความปวดของผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากวันเข้ารับการรักษา วันที่ 1 และ วันที่ 2 หลังการผ่าตัดเมื่อได้รับยาบรรเทาอาการปวด   (F = 15.77, p <.05) ผลการวิจัยเสนอแนะว่าการประเมินความปวดช่วยให้แพทย์และพยาบาลจัดการความปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1 Antonova, E., Le, T. K., Burge, R. & Mershon, J (2013). Tibia shaft fractures: Costly burden of nonunions. BMC Musculoskeletal Disorder, 14(42), 1- 10.

2 Blondell, R. D., Azadfard, M., & Wisniewski, (2013). Pharmacologic therapy for acute pain. American Family Physician. 87(11), 72-76.

3 Chaichart, O. Petpichetchian W, Phumdoung S. (2005). Pain severity, demographic factors, expectation and patients' satisfaction toward postoperative abdominal pain management by health team. Songklanagarind Medical Journal, 24(2):101-109. (in Thai)

4 Chinnoros, S., Gerapinyo, M., & Punpho, K. (2552). Pain management and satisfaction to pain Management in patient with abdominal uterectomy. Ramathibodi Nursing Journal, 15(3), 327-343. (in Thai).

5 Donaldson, J., Haddad, B., & Wasim, W. S. (2014). The pathophysiology, diagnosis and current management of acute compartment syndrome. The Open Orthopedic Journal, 8, 185–193

6 Kamruzzaman, A. & Islam, S. (2011). Result of closed interlocking intramedullary nail in tibial shaft fracture. Bangladesh Medical Journal, 44, 15-17

7 Kitisomprayoonkul, W., Klaphajone, J., & Kovindha, A. (2006). Thai short-form McGill pain questionnaire. Journal of The Medical Association Thailand, 89(6), 846-853

8 Mcmurtry, J., Mounasmy, V. (2015). Segmental Tibia fractures. Annals of orthopedics and rheumatology, 3(3), 1051-1056.

9 Melzack, R. (1975). The McGill pain questionnaire: Major properties and scoring methods. Pain, 1(3), 277-299.

10 Ngamkham, S., Vincent, C., Finnegan, L., Holden, J. E., Wang, Z. J., & Wilkie, D. J. (2012). An integrative review: The McGill pain questionnaire as a multidimensional measure in people with cancer. Pain Management Nursing, 13(1), 27-51.

11 Phutemwong, K. (2005). Pain management and outcomes in post - operative patients. (Master’s thesis). Chaingmai university, Chaingmai.

12 Raju, K., Smith, T.O., Hing, C.B., Solan, M.C., & Nielsen, D.M. (2014). Surgical versus conservative interventions for treating tibial shaft fractures in adults. Retrieved From https://www. cochranelibrary.com/

13 Wilairat, W. (2016). Fractures of the Tibia and Fibula. Retrieved from http://ortho.md.chula.ac.th/student/SHEET/shin-va.pdf.