ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ของผู้สูงอายุ ตำบลหนองตรุด จังหวัดตรัง

Main Article Content

ประไพพิศ สิงหเสม
พอเพ็ญ ไกรนรา
วรารัตน์ ทิพย์รัตน์

บทคัดย่อ

          การดูแลผู้สูงอายุเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของสังคมไทย การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์แบบบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส.ซึ่งได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ งดสูบบุหรี่ และงดสุรา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในตำบลหนองตรุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง จำนวน 147 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นผู้สูงอายุตอนต้น อายุระหว่าง 60-69 ปี ไม่มีภาวะสมองเสื่อม สามารถสื่อสารและช่วยเหลือตัวเองได้ เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2561 โดยการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่บ้าน  ใช้แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส.ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุง     ปีพ.ศ.2561 พัฒนาโดยกองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .721 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


          ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพตาม 3อ.2ส.อยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 51.70 มีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 53.06  โดยพบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.508  p=.000) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ และสอดคล้องกับระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพซึ่งอยู่ในระดับไม่ดีและพอใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1 Chang, P. (2560). Health literacy movement in Asia. Proceedings of the 10th Conference on health promotion and environmental health, Ministry of Public Health, Prince Palace, Bangkok. (in Thai)

2 Ginggeaw, S & Prasertsri, N. (2015). The relationship between health literacy and health behaviors among older adults who have multi-morbidity. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 25 (3), 43-54. (in Thai)

3 Health Education Division, Department of health service support, Ministry of Public Health. (2018). Promoting and assessing health literacy and health behavior. Bangkok: n.d. (in Thai)

4 Hengboriboon, P., Jaidee, P. & Suwanjaroen, J. (2018). Health literacy on cambodia workers in Chonburi Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5 (2), 86-101. (in Thai)

5 Board of the 12th national health development plan. The 12th national health development plan. Bangkok: Ministry of Public Health. (in Thai)

6 Srithanee, K. (2017). Relationship between health literacy and quality of the elderly’s life at the central part of the North-East Thailand. Journal of Health Systems Research, 11(1),26-36. (in Thai)

7 Javadzade, SH., Sharirad, G., Radjati, F., Mostafavi, F., Reisi, M., Hasanzade, A. (2012). Relationship between health literacy, health status, and healthy behaviors among older adults in Isfahan, Iran. J Edu Health Promot, 1 (31), 1-7.

8 Kitterawuttiwong, N. (2015). Health literacy in providing public health activities. KKU Journal for Public Health Research, 8 (2),68-75. (in Thai)

9 Liu, Y. et al. (2015). The Health Literacy Status and Influencing Factors of Older Population in Xinjiang. Iran J Public Health, 44 (7), 913-919.

10 Nammontri, O. (2018). Health Literacy. Thai Dental Nurse Journal, 29 (1), 122-128. (in Thai)

11 National Reform Steering Assembly. (2016). The national reform steering assembly report entitled "Health literacy and health communication Reform. Retrieved from http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nrsa2558/d111459-03.pdf

12 Nutbeam, D. (2008). The Evolving Concept of Health Literacy. Soc Sci Med, 67 (12) : 2072-8.

13 O-in, A. (2016). Health literacy and health behavior of the residents 15 years and older of Nayong District, Trang Province. Journal of Administration Development, 9(1) ,113 - 132. (in Thai)

14 Paibulsiri, P. (2018). Health literacy and health behaviors 3E 2S of public sector executives, Phra Nakhon Si Ayutthaya province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand, 8 (1), 97-107. (in Thai)

15 Suramitmitri, B. (2013). The study of health literacy and the situation of The Thai health promotion foundation operation to step towards the ASEAN community. Individual Study, Executive Training Course on Diplomacy the 5th class, 2013. (in Thai)

16 Tiparat, W. & Suwanweala, S. (2017). Factor predicting health literacy of older adults with hypertension and co-morbidity in Trang Province. Research Report, Boromarajonani College of Nursing,Trang. (in Thai)